|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Tobacco
|
Tobacco
Nicotiana tabacum L. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Solanaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Nicotiana tabacum L. |
|
|
ชื่อไทย |
ยาสูบ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ยาออก(ลั้วะ), ยาซุ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ยาสูบ(คนเมือง), เกร๊อะหร่าเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), สะตู้(ปะหล่อง), ยาซูล่ะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีอายุอยู่ได้เพียงปีเดียว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ทุกส่วนของลำต้นจะปกคลุมไปด้วยขนที่อ่อนนิ่ม ลำต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ โคนใบจะแคบแทบจะไม่มีก้านใบเลย ใบมีขนาดโตหนา มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ด้วยสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อยาวขึ้นไป ตรงส่วนปลายยอด ซึ่งบานตั้งแต่ส่วนล่างไปหาส่วนบนตามลำดับ ดอกมีสีชมพูอ่อนๆ เกือบขาว หรือแดงเรื่อๆ ดอกสวยงามน่าดูมาก
ผล เป็น capsule [1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ โคนใบจะแคบแทบจะไม่มีก้านใบเลย ใบมีขนาดโตหนา มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ด้วยสีเขียว
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อยาวขึ้นไป ตรงส่วนปลายยอด ซึ่งบานตั้งแต่ส่วนล่างไปหาส่วนบนตามลำดับ ดอกมีสีชมพูอ่อนๆ เกือบขาว หรือแดงเรื่อๆ ดอกสวยงามน่าดูมาก
|
|
|
ผล |
ผล เป็น capsule [1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ประคบแผลช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแดง)
- ใบแก่ ซอยเป็นฝอย แล้วตากแห้ง พันด้วยใบตองแห้งใช้ สูบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ลั้วะ,ปะหล่อง)
ใบ เอาไปใส่ในรังไก่ เพื่อช่วยไล่ไรไก่ หรือตำ แล้วแช่ใน น้ำ พ่นไล่ไรไก่(คนเมือง)
ใบแก่ หั่นเป็นฝอย ตากแดด 3 วัน หรือทิ้งไว้จนแห้ง ใช้เป็นไส้บุหรี่ขี้โย(คนเมือง)
ใบ นำมาซอยตากแห้งทำเป็นยาสูบ หรือ ไปคั้นน้ำทาผิวหนังวัวควายที่เป็นหนอง(กะเหรี่ยงแดง)
- ใบอ่อน จะใช้ทำซิการ์และใช้ม้วนบุหรี่ ใบแก่ ทำยาเส้นยาตั้ง ยาฉุน และมวนบุหรี่ ยาตั้งนั้นถ้าเอามาผสมกับน้ำมันก๊าดใส่ผมจะเป็นยาฆ่าเหา ใส่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง ทำติดต่อกัน 2-3 วันๆ ละ 1 ครั้ง แต่ระวังอย่าให้ยาเข้าตานอกจากนี้ยังเป็นยาฆ่าแมลงพวกเพลี้ยได้เป็นอย่างดีด้วย [1]
- รากและใบ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน หิด กลาก เกลื้อน เรื้อนกวาง
ใบ แก้หวัด คัดจมูก รักษาโรคผิวหนัง แก้ลมพิษ แก้ปวด ขับเสมหะ ขับพยาธิในลำไส้ ใช้เป็นยาฆ่าแมลง [5] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|