ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ว่านหอมแดง
ว่านหอมแดง
Eleutherine bulbosa (Mill.) Urb. (Syn. Eleutherine americana (Aubl.) Merr.)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Iridaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Eleutherine bulbosa (Mill.) Urb. (Syn. Eleutherine americana (Aubl.) Merr.)
 
  ชื่อไทย ว่านหอมแดง
 
  ชื่อท้องถิ่น ว่านแดง(ลั้วะ),พ่อบี่เบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), แชกุนิ(อาข่า)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ว่านหอมแดงเป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน สีแดง มีใบเกล็ด ห่อหุ้ม ลักษณะคล้ายหัวหอม แต่รูปทรงคล้ายกระสวย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปดาบ จีบพับซ้อนกันคล้ายพัด กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 25-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบมีขนเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 2.5-4 เซนติเมตร มักโค้งงอ มีกาบหุ้มดอก สีเขียว 2-10 อัน ซ้อนกันอยู่ที่ง่ามใบใกล้ยอด ดอกมี 4-10 ดอก ก้านดอกยาว 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาวมี 6 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบที่อยู่ชั้นในมีขนาดเล็กกว่ากลีบที่อยู่ชั้นนอก ผลมีรูปขอบขนานหัวตัดมี 3 ช่อง เมล็ดรูปรีอัดกันแน่น
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หัวใต้ดิน ดองเหล้าดื่มบำรุงเลือด(ลั้วะ)
- หัว ดองเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร(ลั้วะ)
- หัวใต้ดิน นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้องหรือมวนท้อง(ลั้วะ)
- หัวใต้ดิน ทุบแล้วทาแผลสด ทำให้แผลยุบและแห้งเร็วขึ้น(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- หัวใต้ดิน ใช้ย้อมสีเปลือกไข่ในเทศกาลปีใหม่ไข่แดง (อาข่า)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง