ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ���������������������������������
กระดูกไก่ดำ
Gendarussa vulgaris Nees.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ ACANTHACEAE
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gendarussa vulgaris Nees.
 
  ชื่อไทย กระดูกไก่ดำ
 
  ชื่อท้องถิ่น เฉียงพร้าบ้าน เฉียงพร้ามอญ ผีมอญ สันพร้ามอญเฉียงพร้าม่าน เกียงพา สำมะงาจีน(ภาคกลาง) เฉียงพร้า(สุราษฎร์ธานี)กระดูกดำ (จันทบุรี) ปองดำ(ตราด) กุลาดำ บัวลาดำ(ภาคเหนือ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพรรณไม้พุ่มเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 90-100 ซม.
 
  ใบ เป็นรูปหอกโคนและปลายแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยักเส้นกลางใบสีแดงขนาดใบกว้าง 0.5-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ก้านใบสั้น
 
  ดอก เป็นช่อบริเวณปลายดอก ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ลักษณะของดอกกลีบดอกมีสีขาวอมเขียว แกมชมพู โคนกลีบดอกติดกันส่วนปลายกลีบแยกเป็นกลีบล่างบน ลักษณะกลีบล่างโค้งงอนเหมือนช้อนข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 2 อัน ซึ่งจะโผล่พ้นหลอดออกมา
 
  ผล ผลของกระดูกไก่ดำมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ นำใบสดกระดูกไก่ดำมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะบวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม แก้ช้ำแก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
- รากและใบ ตำรากและใบของกระดูกไก่ดำผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเองตามลำธารในป่าดงดิบหรือมักปลูกตามบ้าน ใช้ทำรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง