ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา -
-
Erythropalum scandens Blume
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Olacaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythropalum scandens Blume
 
  ชื่อไทย ผักรด
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักฮาก
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ "ไม้เถาเลื้อยยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านได้มาก
ใบ ใบออกเรียงสลับ ด้านใบยาว 3-10 ซม. ปลายโป่ง แผ่นใบรูปไข่แกม 3 เหลี่ยมกว้าง 6-11 ซม. ยาว 9-16 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบตัดหรือโค้งเล็กน้อย ขอบใบหยักคล้ายคลื่นน้อยๆ และห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีนวล เส้นใบหลัก 3 เส้น จรดกันที่โคนใบ ปลายแยก มือเกาะเกิดตามง่าม ปลายแยกเป็น 2 แฉก
ดอก ออกเป็นช่อเชิงหลั่น ยาวประมาณ 10 ซม. หรือมากว่า ดอกย่อยเป็นตุ่มสีเขียวกว้างประมาณ 2 มม. หมอนรองลักษณะคล้ายจานสีเหลือง
ผล รูปคล้ายผลฝรั่ง กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.5 – 2.0 ซม. เมื่อแก่สีเหลืองหรือออกแดง เมล็ดรูปไข่ยาวประมาณ 1 ซม. มี 1 เมล็ด ต่อ 1 ผล [9]"
 
  ใบ ใบออกเรียงสลับ ด้านใบยาว 3-10 ซม. ปลายโป่ง แผ่นใบรูปไข่แกม 3 เหลี่ยมกว้าง 6-11 ซม. ยาว 9-16 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบตัดหรือโค้งเล็กน้อย ขอบใบหยักคล้ายคลื่นน้อยๆ และห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีนวล เส้นใบหลัก 3 เส้น จรดกันที่โคนใบ ปลายแยก มือเกาะเกิดตามง่าม ปลายแยกเป็น 2 แฉก
 
  ดอก ออกเป็นช่อเชิงหลั่น ยาวประมาณ 10 ซม. หรือมากว่า ดอกย่อยเป็นตุ่มสีเขียวกว้างประมาณ 2 มม. หมอนรองลักษณะคล้ายจานสีเหลือง
 
  ผล รูปคล้ายผลฝรั่ง กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.5 – 2.0 ซม. เมื่อแก่สีเหลืองหรือออกแดง เมล็ดรูปไข่ยาวประมาณ 1 ซม. มี 1 เมล็ด ต่อ 1 ผล [9]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง(คนเมือง,ม้ง,เมี่ยน,ไทลื้อ,ขมุ)
ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือรับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารเช่น แกง หรือนึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
- ชาวเขาแทบทุกเผ่าใช้ยอดและใบอ่อนลวกหรือใส่แกงต้มกินเป็นอาหารประเภทผัก [9]
- ชาวบ้านพื้นล่าง ใช้ยอดและใบอ่อนปรุงใส่แกง เป็นแกงส้ม หรือผสมกับผักอื่นเป็นแกงแค[9]
- ชาวบ้านภาคเหนือบางแห่งได้พัฒนาเป็นพืชปลูกเพื่อเก็บยอดอ่อนขาย [9]"
 
  อ้างอิง "เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า."
 
  สภาพนิเวศ ชอบเลื้อยขึ้นตามตนไมทั่วไป รั้วบ้าน ตามพื้นดิน หรือขึ้นในป่า แสงแดดรำไร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง