|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Morus macroura Miq. |
|
|
ชื่อไทย |
หม่อนหลวง, หม่อนห้อก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ลำแปล๊ะ,ลำญืม,ลำแป้ด(ลั้วะ), เคลอเส่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), จ้อยั้ง(ม้ง), ด่อกะเปรี๊ยะ(ปะหล่อง) - แอยละ (ลัวะ-เชียงใหม่) หม่อนหลวง หม่อนฮอก (เหนือ) ; mulberry [10] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดใหญ่สูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทาอ่อน ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกชั้นในมียางสีขาวหรือขาวอมเหลืองอ่อน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียนรอบ หูใบแคบ ยาวประมาณ 2 ซม. หลุดร่วงได้ง่าย ก้านใบยาว 2.0-3.5 ซม. แผ่นใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ขนาดความกว้าง 6-12 ซม. ยาว 8-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งเรียวแหลม โคนใบโค้งมนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นฟันคล้ายซี่ฟันเลื่อยละเอียด ผิวใบเกลี้ยง ย่นเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นเล็กๆ เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น เส้นใบข้าง 4-8 คู่ ปลายโค้งเข้าหากันก่อนจรดขอบใบ
ดอก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก แยกเพศแยกต้นดอกเพศผู้เป็นช่อห้อย ยาว 6-14 ซม. ดอกย่อยเล็กมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงซ้อนในดอกตูมเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกรูปคล้ายเรือโค้ง กลีบชั้นในเป็นแผ่นแบนทั้งกลีบนอกและกลีบในมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น เกสรเพศผู้ 4 อัน แยกกันอยู่ ดอกเพศเมียเป็นช่อห้อยแบบเดียวกับดอกเพศผู้ แต่สั้นกว่าและเรียงตัวกันแน่นกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุม มีก้านเกสรยาวเรียว 2 อัน ขนาดยาวประมาณ 2.5 มม.
ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ติดกันเป็นช่อแน่นช่อติดผลยาว 10-20 ซม. ผลแก่สีขาวถึงเหลืองอ่อน เมื่อสุกสีม่วงถึงม่วงอมดำ มีเนื้อฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด มีชั้นกลีบเลี้ยงฉ่ำน้ำห่อหุ้มที่โคน [10] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียนรอบ หูใบแคบ ยาวประมาณ 2 ซม. หลุดร่วงได้ง่าย ก้านใบยาว 2.0-3.5 ซม. แผ่นใบรูปไข่หรือรูปไข่กว้าง ขนาดความกว้าง 6-12 ซม. ยาว 8-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งเรียวแหลม โคนใบโค้งมนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นฟันคล้ายซี่ฟันเลื่อยละเอียด ผิวใบเกลี้ยง ย่นเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นเล็กๆ เส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้น เส้นใบข้าง 4-8 คู่ ปลายโค้งเข้าหากันก่อนจรดขอบใบ
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก แยกเพศแยกต้นดอกเพศผู้เป็นช่อห้อย ยาว 6-14 ซม. ดอกย่อยเล็กมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เรียงซ้อนในดอกตูมเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกรูปคล้ายเรือโค้ง กลีบชั้นในเป็นแผ่นแบนทั้งกลีบนอกและกลีบในมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น เกสรเพศผู้ 4 อัน แยกกันอยู่ ดอกเพศเมียเป็นช่อห้อยแบบเดียวกับดอกเพศผู้ แต่สั้นกว่าและเรียงตัวกันแน่นกว่าดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ผิวเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุม มีก้านเกสรยาวเรียว 2 อัน ขนาดยาวประมาณ 2.5 มม.
|
|
|
ผล |
ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ติดกันเป็นช่อแน่นช่อติดผลยาว 10-20 ซม. ผลแก่สีขาวถึงเหลืองอ่อน เมื่อสุกสีม่วงถึงม่วงอมดำ มีเนื้อฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด มีชั้นกลีบเลี้ยงฉ่ำน้ำห่อหุ้มที่โคน [10] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ม้ง)
ยอดอ่อนและใบอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง(ปะหล่อง)
- น้ำยางสีเหลือง ใช้ทาแผลเป็นยาสมานแผลสด(ม้ง)
น้ำยาง ใช้ทารักษาแผลสด(ลั้วะ)
ยาง ทาแผลตุ่มคัน(ลั้วะ)
ยาง(สีขาว) ใส่แผลสดทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ,ม้ง)
- ผล สัตว์กินได้ แต่คนกินแล้วจะมีอาการเมา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผลสุก รับประทานมากเป็นพิษ(ม้ง)
- ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุกเป็นอาหรประเภทผลไม้ ม้งใช้เปลือกและเนื้อไม้ตำเป็นยาพอกแผลระงับเชื้อ ลัวะใช้ยางจากลำต้นใส่แผลเปื่อย แผลเรื้อรัง แผลมีหนอง
ใช้ไม้ ทำส่วนประกอบภายในบ้าน เช่น โครงหลังคาและเครื่องเรือน กิ่งก้านทำฟืน [10] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[10] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|