|
วงศ์ |
Polygonaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Muehlenbeckia platyclada (F. Muell.) Meisn. |
|
|
ชื่อไทย |
ตะขาบหิน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ตะขาบหิน(คนเมือง), ว่านจะเข็บ(ไทลื้อ) เพว เฟอ (กรุงเทพมหานคร) , ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1-2 เมตร ลำต้นแบน เป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ กว้างราวครึ่งนิ้ว เป็นปล้องๆ พอลำต้นแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และกลมขึ้น |
|
|
ใบ |
ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ร่วงง่าย รูปใบหอกแกมเส้นตรง กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบ และท้องใบเรียบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ที่บริเวณข้อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้นกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็กมาก กลีบรวมสีขาวแกมเขียว มี 5 กลีบ รูปไข่ ก้านดอกสั้น โคนกลีบดอกติดกัน ก้านชูดอกสั้นมาก เกสรตัวผู้ 7-8 อัน |
|
|
ผล |
ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกสีแดง มีรสหวาน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง เป็นสัน 3 สัน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ทุบแล้วใช้ทาแผลแมลงกัดต่อย(คนเมือง,ไทลื้อ)
- ทั้งต้น มีรสหวานสุขุม มีสรรพคุณแก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี แก้ฝีในปอด แก้ไอเนื่องจากปอด แก้เจ็บคอ เจ็บอก ใช้ภายนอกระงับปวด แก้โรคผิวหนังเจ็บ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ฝีตะมอย
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
เป็น พันธุ์ไม้ ที่ขึ้น ตาม พื้นที่ป่า กระจาย ตามภาค ต่างๆ ของประเทศไทย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|