|
วงศ์ |
Bromeliaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ananas comosus (L.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
สับปะรด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- เบล่มะหน่า(ปะหล่อง) - มะขะนัด มะนัด (ภาคเหนือ), บ่อนัด (เชียงใหม่), ขนุนทอง ย่านัด ยานัด (ภาคใต้)), หมากนัด (ภาคอีสาน), เนะเซะ (กระเหรี่ยง-ตาก), แนะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)สับปะรดลาย (กรุงเทพฯ), หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 50-125 ซม. มีไหลหรือหน่ออ่อน
ใบ ใบเดี่ยว รูปแถบกว้าง 1.5-6 ซม. ขอบใบโค้งขึ้นมีหนามแหลม เนื้อใบหา แข็ง ท้องใบมีเกล็ดสีขาว
ดอก ช่อเชิงลดออกที่ปลายยอด ใบประดับสีแดง เหลืองหรือเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปแถบแกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนกลีบสีขาว ปลายกลีบสีม่วงหรือแกมชมพู ยาว 16-26 มม.
ผล ผลรวม (multiple fruit แบบ sorosis) รูปกระสวยกว้าง อวบน้ำเปลือกแข็ง สีเหลืองหรือเกือบแดงกว้าง 3-15 ซม. ยาว 3-30 ซม. มักไม่ติดเมล็ด [3] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบเดี่ยว รูปแถบกว้าง 1.5-6 ซม. ขอบใบโค้งขึ้นมีหนามแหลม เนื้อใบหา แข็ง ท้องใบมีเกล็ดสีขาว
|
|
|
ดอก |
ดอก ช่อเชิงลดออกที่ปลายยอด ใบประดับสีแดง เหลืองหรือเขียว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก รูปไข่แกมสามเหลี่ยม กลีบดอกรูปแถบแกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนกลีบสีขาว ปลายกลีบสีม่วงหรือแกมชมพู ยาว 16-26 มม.
|
|
|
ผล |
ผล ผลรวม (multiple fruit แบบ sorosis) รูปกระสวยกว้าง อวบน้ำเปลือกแข็ง สีเหลืองหรือเกือบแดงกว้าง 3-15 ซม. ยาว 3-30 ซม. มักไม่ติดเมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้(ปะหล่อง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|