|
วงศ์ |
Lamiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Perilla frutescens (L.) Britton |
|
|
ชื่อไทย |
งาขี้ม้อน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- งาขี้ม้อน, งาปุก(คนเมือง), ง้า(ลั้วะ), นอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - งามน (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน) แง (กาญจบุรี) นอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) น่อง (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี) [7] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก ตั้งตรง สูง 50 – 150 ซม. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมน ๆ ระหว่างเหลี่ยมเป็นร่อง แตกกิ่งก้านสาขา มีกลิ่นหอม มีขนยาวละเอียดสีขาวปกคลุมหนาแน่น เมื่อโตเต็มที่ ที่โคนต้นเกลี้ยง ส่วนโคนต้นและโคนกิ่งแข็ง
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือกลม กว้าง 2 – 8 ซม. ยาว 3 – 9.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมเป็นติ่งยาว โคนใบกลม ป้าน หรือตัด ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย สีเขียวอ่อน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน มีขนทั้งสองด้าน ตามเส้นใบมีขนหนาแน่น ด้านล่างมีต่อมน้ำมัน ก้านใบยาว 10 – 45 มม. มีขนยาวหนาแน่น
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ตามง่ามใบและที่ยอด ริ้วประดับดอกย่อย รูปไข่ กว้าง 2.5 – 3.2 มม. ยาว 3 – 4 มม. ไม่มีก้าน โคนริ้วประดับกลมกว้าง ขอบเรียบ มีขน ปลายเรียวแหลม ด้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก แฉกกลางด้านบนสั้นกว่าแฉกอื่น ๆ มีเส้นตามยาว 10 เส้น ด้านนอกมีขนและมีต่อน้ำมัน ด้านในมีขนยาวเรียงเป็นวงรอบปากหลอด เมื่อดอกเจริญไปเป็นผลแล้ว กลีบเลี้ยงจะใหญ่ขึ้น กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอก ปลายแยกเป็นปาก ยาว 3.5 – 4 มม. ด้านนอกมีขนด้านในมีขนเรียงเป็นวงอยู่กึ่งกลางหลอด ปากบนปลายเว้าเล็กน้อย ปากล่างมี 3 หยัก ปลายมนหยักกลางใหญ่ [7] กว่าหยักอื่น ๆ และเฉพาะหยักนี้ด้านในมีขน เวลาดอกบานกลีบนี้จะกางออก เกสรเพศผู้มี 4 อัน เรียงเป็นคู่ คู่บนสั้นกว่าคู่ล่างเล็กน้อย ก้านเกสรเกลี้ยง อับเรณูมี 2 พู ด้านบนติดกัน ด้านล่างกางออก จานดอกเห็นชัด รังไข่ยาวประมาณ 3 มม. มีพูกลม ๆ 4 พู ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2.6 – 3 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่มีขน
ผล รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยางประมาณ 2 มม. แข็ง สีน้ำตาลหรือสีเทา มีลายรูปตาข่าย [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือกลม กว้าง 2 – 8 ซม. ยาว 3 – 9.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมเป็นติ่งยาว โคนใบกลม ป้าน หรือตัด ขอบใบจักแบบฟันเลื่อย สีเขียวอ่อน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน มีขนทั้งสองด้าน ตามเส้นใบมีขนหนาแน่น ด้านล่างมีต่อมน้ำมัน ก้านใบยาว 10 – 45 มม. มีขนยาวหนาแน่น
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ตามง่ามใบและที่ยอด ริ้วประดับดอกย่อย รูปไข่ กว้าง 2.5 – 3.2 มม. ยาว 3 – 4 มม. ไม่มีก้าน โคนริ้วประดับกลมกว้าง ขอบเรียบ มีขน ปลายเรียวแหลม ด้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก แฉกกลางด้านบนสั้นกว่าแฉกอื่น ๆ มีเส้นตามยาว 10 เส้น ด้านนอกมีขนและมีต่อน้ำมัน ด้านในมีขนยาวเรียงเป็นวงรอบปากหลอด เมื่อดอกเจริญไปเป็นผลแล้ว กลีบเลี้ยงจะใหญ่ขึ้น กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอก ปลายแยกเป็นปาก ยาว 3.5 – 4 มม. ด้านนอกมีขนด้านในมีขนเรียงเป็นวงอยู่กึ่งกลางหลอด ปากบนปลายเว้าเล็กน้อย ปากล่างมี 3 หยัก ปลายมนหยักกลางใหญ่ [7] กว่าหยักอื่น ๆ และเฉพาะหยักนี้ด้านในมีขน เวลาดอกบานกลีบนี้จะกางออก เกสรเพศผู้มี 4 อัน เรียงเป็นคู่ คู่บนสั้นกว่าคู่ล่างเล็กน้อย ก้านเกสรเกลี้ยง อับเรณูมี 2 พู ด้านบนติดกัน ด้านล่างกางออก จานดอกเห็นชัด รังไข่ยาวประมาณ 3 มม. มีพูกลม ๆ 4 พู ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2.6 – 3 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่มีขน
|
|
|
ผล |
ผล รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยางประมาณ 2 มม. แข็ง สีน้ำตาลหรือสีเทา มีลายรูปตาข่าย [7] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด นำไปคั่ว แล้วตำ รับประทานโดยนำไปคลุกกับข้าวเหนียว(คนเมือง,ลั้วะ)
เมล็ด นำไปคั่วใส่ในน้ำพริก หรือตำแล้วคลุกกับข้าว เหนียวรับประทาน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เมล็ด นำมาคั่วแล้วใช้ตำกินกับข้าวเหนียวผสมเกลือหรือใช้ทำขนมก็ได้(ลั้วะ)
เมล็ด นำไปคั่ว แล้วตำผสมกับน้ำพริกหรือตำคลุกข้าว เหนียวนึ่งไว้รับประทาน เรียกว่า มิโตพิ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ใบ และ ยอดอ่อน ใช้แต่งรสอาหาร แก้ไอ แก้หวัดและช่วยย่อย
เมล็ด น้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้ปรุงอาหารได้ กินเป็นยาชูกำลัง ทำให้ร่างกายอบอุ่นและแก้ท้องผูก [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|