ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Water pepper
Water pepper
Persicaria hydropiper (L.) Spach
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Polygonaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Persicaria hydropiper (L.) Spach
 
  ชื่อไทย ผักไผ่น้ำ
 
  ชื่อท้องถิ่น - ผักไผ่น้ำ(คนเมือง) - ฝ่าย (มูเซอ – เชียงใหม่) พะจีมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักไผ่น้ำ (เหนือ) ผักไผ่น้ำยอดแดง ผักบุ้งท้องแดง ผักลิ้นไฟ (นราธิวาส) ตูบอสะรแว (มาเลย์ – นราธิวาส) [10]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก สูงได้ถึง 80 ซม. ลำต้นค่อนข้างกลม ยาว มีข้อค่อนช้างโตและมีวงสีแดงใต้ข้อ มีรากงอออกจากตาบริเวณโคนต้นหรือข้อที่อยู่บริเวณโคนต้น แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
ใบ ใบเดี่ยวเรียงแบบเวียนสลับไปตามข้อ ก้านใบยาว 2-5 มม. บริเวณโคนก้านมีปลอกขนาดยาว 1.5 ซม. ห่อเป็นท่อหุ้มเห็นได้เด่นชัด แผ่นใบรูปใบหอก ขนาดกว้าง 0.5-2.0 ซม. ยาว 2-8 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ แคบแบบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบมีต่อมกระจายทั่ว
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 17 ซม. ที่ยอดหรือปลายกิ่ง มีใบประดับรูปกวย ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ก้านดอกย่อยยาวกว่าใบประดับ วงกลีบรวม 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวถึงสีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ก้านเกสรมีปลายเว้นลึกแยกเป็น 2 พู
ผล เป็นแบบแห้ง เมล็ดล่อน ยาว 2-3 มม. มี 2-3 มุม เมื่อสุกสีดำอมน้ำตาล [10]
 
  ใบ ใบ ใบเดี่ยวเรียงแบบเวียนสลับไปตามข้อ ก้านใบยาว 2-5 มม. บริเวณโคนก้านมีปลอกขนาดยาว 1.5 ซม. ห่อเป็นท่อหุ้มเห็นได้เด่นชัด แผ่นใบรูปใบหอก ขนาดกว้าง 0.5-2.0 ซม. ยาว 2-8 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบ แคบแบบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบมีต่อมกระจายทั่ว
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ยาวได้ถึง 17 ซม. ที่ยอดหรือปลายกิ่ง มีใบประดับรูปกวย ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ก้านดอกย่อยยาวกว่าใบประดับ วงกลีบรวม 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวถึงสีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ก้านเกสรมีปลายเว้นลึกแยกเป็น 2 พู
 
  ผล ผล เป็นแบบแห้ง เมล็ดล่อน ยาว 2-3 มม. มี 2-3 มุม เมื่อสุกสีดำอมน้ำตาล [10]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ตำแล้วทาบริเวณผิวหนังที่เป็นกลากเกลื้อน(คนเมือง)
ใบและลำต้น ขยี้แล้วลนไฟ คั้นเอาน้ำมาทาผิวหนัง บริเวณที่ถลอกที่เกิดจากการเสียดสีกับเสื้อผ้า(คนเมือง)
- ชาวเขาแทบทุกเผ่าใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนกินเป็นผักสด ผักจิ้ม ผักข้างเคียง หรือใส่แกงเป็นเครื่องเทศ มูเซอใช้ใบขยี้ผสมกับปูนกินหมาก ทาเป็นยาแก้ขี้กลาก เกลื้อนตามผิวหนัง [10]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[10] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือบริเวณริมน้ำ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง