ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ������������������������, ���������������������, ������������������������
ห้อมช้าง, จ้าฮ่อม, ฮ่อมช้าง
Phlogacanthus curviflorus Nees
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Acanthaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlogacanthus curviflorus Nees
 
  ชื่อไทย ห้อมช้าง, จ้าฮ่อม, ฮ่อมช้าง
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำโจ้,ดอกขม(ลั้วะ), จอเต่อะโกะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ฮ่อมเกี่ยว,ฮ่อมช้าง(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. ลำต้นกลวง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีแกมกว้าง ขนาดกว้าง 12 ซม. ยาว 30 ซม. ก้านใบยาว 5-6 ซม. ดอก สีส้มแดงหรือแดงอิฐ ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด มีดอกจำนวนมาก กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน สีเขียวซีด มีขนนุ่ม กลีบดอกเป็นหลอดโค้ง ยาว 5-6 ซม. ด้านนอกมีขนแน่น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบโค้งออกด้านนอก เกสรผู้ 2 อัน ผล เป็นผลแห้ง รูปร่างรียาว มีสันสี่เหลี่ยมมน ขนาดกว้าง 0.6 ซม. ยาว 3.5 ซม. มี 12-14 เมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก มีน้ำหวานที่รับประทานได้(ลั้วะ)
ดอก รับประทานสดกับน้ำพริก หรือนำไปแกง เช่น แกงบอน(ลั้วะ)
ดอกหรือผลอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก มีรสขม(กะเหรี่ยง)
- ใบ ผิงไฟประคบร้อนหรือนำมาตำแล้วเอามานวดหรือถู บริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ(คนเมือง)
- ใบ ทุบและใช้ขัดตัวทำความสะอาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง