|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ลูกใต้ใบ
|
ลูกใต้ใบ
Phyllanthus amarus Schumach. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Phyllanthus amarus Schumach. |
|
|
ชื่อไทย |
ลูกใต้ใบ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- หน่วยใต้ใบ(คนเมือง) - มะขามป้อมดิน (เหนือ); หญ้าใต้ใบ (นครสวรรค์, อ่างทอง, ชุมพร) หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฏร์ธานี) [6] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
พืชล้มลุก มีอายุเพียงปีเดียว, สูงได้ถึง 30 ซม.; ลำต้นไม่มีขน, แตกกิ่งก้านสาขามาก.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปของขนานแกมรูปรี, กว้าง 3 – 4 มม., ยาว 5 – 9 มม.; ปลายใบกลมหรือมน; โคนใบกลม; ขอบใบเรียบ; ไม่มีขน, ด้านล่างสีอ่อน; ก้านใบสั้น, หูใบปลายแหลม.
ดอก แยกเพศ. ดอกเพศผู้ มีขนาดเล็กมาก, ออกตามง่ามใบที่อยู่ต่ำสุด 1 – 4 ง่าม, มักจะออกเป็นกระจุก ๆ ละ 2 – 3 ดอก; เกสรผู้มี 3 อัน, โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย, อับเรณูแตกตามแนวราบ. ดอกเพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ 2 เท่า, ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบที่อยู่เหนือขึ้นไป; กลีบรองกลีบดอกรูปไข่, ขอบกลีบสีอ่อน.
ผล มีขนาดเล็ก, รูปกลมแป้น, ผิวเกลี้ยง. เมล็ด มีสันตามยาวทางด้านหลัง.[6] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, รูปของขนานแกมรูปรี, กว้าง 3 – 4 มม., ยาว 5 – 9 มม.; ปลายใบกลมหรือมน; โคนใบกลม; ขอบใบเรียบ; ไม่มีขน, ด้านล่างสีอ่อน; ก้านใบสั้น, หูใบปลายแหลม.
|
|
|
ดอก |
ดอก แยกเพศ. ดอกเพศผู้ มีขนาดเล็กมาก, ออกตามง่ามใบที่อยู่ต่ำสุด 1 – 4 ง่าม, มักจะออกเป็นกระจุก ๆ ละ 2 – 3 ดอก; เกสรผู้มี 3 อัน, โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย, อับเรณูแตกตามแนวราบ. ดอกเพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ 2 เท่า, ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบที่อยู่เหนือขึ้นไป; กลีบรองกลีบดอกรูปไข่, ขอบกลีบสีอ่อน.
|
|
|
ผล |
ผล มีขนาดเล็ก, รูปกลมแป้น, ผิวเกลี้ยง. เมล็ด มีสันตามยาวทางด้านหลัง.[6] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ทั้งต้น ต้มกินกับหญ้าปีกแมงวัน (กรดน้ำ) และหญ้าปัน, ยอดอ่อน รักษาอาการปวดกระดูก และปวดข้อ (คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|