|
วงศ์ |
Piperaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Piper chaba Hunt |
|
|
ชื่อไทย |
ดีปลี |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ดีปลี, ดีปลีเชือก [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาเลื้อย มีรากที่ทำหน้าที่ยึดเกาะ เกิดบริเวณข้อและลำต้นทรงกระบอก บริเวณข้อโป่งออก
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียว ออกแบบสลับกัน ใบยาว 3-20 ซม. กว้าง 2-13 ซม. ใบที่อยู่ทางด้านล่างมีลักษณะเป็นรูปไข่ (ovate) หรือรูปหอก (lanceolate) ส่วนใบที่อยู่ทางด้านยอดมีลักษณะเป็นรูปกลมแกมขอบขนานรีรูปไข่ (oblong-oval) หรือกลมรีแกมขอบขนาน (oblong) ฐานใบเป็นรูปหัวใจ หรือรูปลิ่ม สองด้านไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบหลายหนัง เส้นใบออกจากฐานใบ 3-5 เส้น ก้านใบของใบที่อยู่ทางด้านล่างยาว 1.5-3 ซม. ส่วนก้านใบของใบที่อยู่ทางด้านบนยาว 0.5-1.5 ซม. ใบเลี้ยงเป็นแผ่นบางๆ หุ้มตา มีความยาวประมาณ 1-1.5 ซม.
ดอก เป็นช่อแบบ spike ทรงกะบอกปลายมน ออกตรงข้ามกับใบ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ก้านช่อดอกยาว 0.7-2 ซม. อาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกไม่สมบูรณ์เพศ ช่อดอกตัวผู้ยาว 2.5-8.5 ซม. มีเกสรตัวผู้ที่มีขนาดสั้นมาก 2-3 อัน ช่อดอกตัวเมียยาว 1.7-3 ซม. มีเกสรตัวเมียที่มีขนาดสั้น 2-3 อัน
ผล อัดแน่นเป็นผลรวม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่มีสีแดง เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มม. [3] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียว ออกแบบสลับกัน ใบยาว 3-20 ซม. กว้าง 2-13 ซม. ใบที่อยู่ทางด้านล่างมีลักษณะเป็นรูปไข่ (ovate) หรือรูปหอก (lanceolate) ส่วนใบที่อยู่ทางด้านยอดมีลักษณะเป็นรูปกลมแกมขอบขนานรีรูปไข่ (oblong-oval) หรือกลมรีแกมขอบขนาน (oblong) ฐานใบเป็นรูปหัวใจ หรือรูปลิ่ม สองด้านไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบหลายหนัง เส้นใบออกจากฐานใบ 3-5 เส้น ก้านใบของใบที่อยู่ทางด้านล่างยาว 1.5-3 ซม. ส่วนก้านใบของใบที่อยู่ทางด้านบนยาว 0.5-1.5 ซม. ใบเลี้ยงเป็นแผ่นบางๆ หุ้มตา มีความยาวประมาณ 1-1.5 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก เป็นช่อแบบ spike ทรงกะบอกปลายมน ออกตรงข้ามกับใบ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ก้านช่อดอกยาว 0.7-2 ซม. อาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกไม่สมบูรณ์เพศ ช่อดอกตัวผู้ยาว 2.5-8.5 ซม. มีเกสรตัวผู้ที่มีขนาดสั้นมาก 2-3 อัน ช่อดอกตัวเมียยาว 1.7-3 ซม. มีเกสรตัวเมียที่มีขนาดสั้น 2-3 อัน
|
|
|
ผล |
ผล อัดแน่นเป็นผลรวม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่มีสีแดง เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มม. [3] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล เป็นเครื่องเทศ มีรสเผ็ด(คนเมือง)
- ผล นำมาบดผสมกับ เหง้าว่านกีบแรด สับแล้วตากแห้ง พริกไทย แล้วนำมาผสมน้ำผี้งเดือนห้า ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ราก รสร้อน แก้เส้นอัมพฤกษ์และอัมพาต ดับพิษร้อน แก้ท้องร่วง
เถา รสเผ็ดร้อนทำเป็นยาแก้ปวดฟัน ปวดท้องจุกเสียด ริดสีดวงทวารหนัก แก้ลม แก้คุดทะราด เจริญอาหาร ขับเสมหะ
ผลแห้ง รสเผ็ดร้อน 10-12 ผล ต้มในน้ำ 2 ถ้วย 12-15 นาที ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด หรือผล 1 ผลฝนกับมะนาวแทรกเกลือกวาดคอวันละ 2 ครั้ง แก้ไอขับเสมหะ
ดอก รสเผ็ดร้อนและขม ปรุงเป็นยาธาตุแก้ตับพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ จุกเสียด แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หืด แก้ไอ แก้ริดสีดวง
ใบ แก้เส้นอัษฎา และเส้นสุมนา (เส้นศูนย์กลางท้อง) แก้ปวดเมื่อย
ดีปลีบำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลีย รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดนอาหาร และทางเดินหายใจ แก้โรคลมบ้าหมู ขับประจำเดือน ขับน้ำดี และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่มีฝนตกชุก มีความชื้นสูง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|