|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
สะค้าน , จะค่าน
|
สะค้าน , จะค่าน
Piper interruptum Opiz |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Piperaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Piper interruptum Opiz |
|
|
ชื่อไทย |
สะค้าน , จะค่าน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มังเหาเจ๊าะ(ม้ง), จะค่าน(คนเมือง,เมี่ยน,ไทลื้อ), หละฮะ(ขมุ), ผู่แฮเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เถา ขนาดกลาง มีข้อปล้อง เนื้อไม้เป็นเส้นยาว หน้าตัดตามขวางมีลาย เป็นเส้นรัศมี เปลือกค่อนข้างอ่อน เนื้อไม้สีขาว |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวรูปใบหอกกว้างคล้ายใบพริกไทย แต่แคบกว่า ปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม |
|
|
ดอก |
ออกดอกเป็นช่อยาวเล็ก สีครีม ดอกย่อยอัดกันแน่น คล้ายดอกพริกไทยหรือดอกดีปลี |
|
|
ผล |
ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงคล้ำ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เครือ ใช้ประกอบอาหารช่วยเพิ่มรสเผ็ด เช่นใส่แกงหน่อ แกงขนุน(ม้ง)
เนื้อไม้ ซอยใส่ลาบ ใส่แกง(กะเหรี่ยงแดง)
ลำต้น ใช้ใส่แกง ช่วยให้มีกลิ่นหอม(ขมุ)
ลำต้น ใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารเพิ่มรสเผ็ด(เมี่ยน)
ลำต้น ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว(ไทลื้อ)
เครือแก่ สับเป็นแว่นเล็กๆ แล้วนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น แกงปลี, ใบอ่อน นำไปแกงขนุน มีกลิ่นหอม(คนเมือง)
- ลำต้น ตากแห้งผสมกับ เปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำ ต้นฮ่อสะพายควาย ม้ากระทืบโรง ตานเหลือง มะตันขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูก และ โด่ไม่รู้ล้มต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกร เพาะเจริญ และคณะ, 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางโอ. บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี มีแสงรำไร ชอบเกาะตามต้นไม้ขนาดใหญ่ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|