|
วงศ์ |
Piperaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Piper nigrum L. |
|
|
ชื่อไทย |
พริกไทย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ฮ่าจิว(เมี่ยน) - พริกน้อย (ภาคเหนือ) พริก (ภาคใต้) พริกไทยดำ (เรียกทั้งลูก) พริกไทยล่อน พริกขี้นก (เรียกเมล็ดแก่) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เลื้อยอายุยืนนานกว่า 15 ปี เปลือกลำต้นสีเขียวเมื่ออายุน้อย เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่ออายุมากขึ้น ตามลำต้นมีข้อโป่งออกจัดเจน รากออกตามข้อเพื่อยึดเกาะ เกิดรากประมาณ 10-20 ราก แต่ละรากยาวประมาณ 3-4 ม.
ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือรูปหัวใจปลายแหลมเล็กน้อย ใบกว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 7-10 ซม. ก้านใบยาว 10-20 มม. ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน ขอบใบบางพันธุ์เรียบบางพันธุ์หยักเป็นคลื่น
ดอกออกเป็นช่อยาวประมาณ 7-14 ซม. เกิดตามข้อตรงข้ามกับใบ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยประมาณ 150 ดอกย่อย ช่อดอกขณะอ่อนมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกมีสีเขียว ดอกบานทั้งช่อประมาณ 5-7 วัน ช่อดอกตัวเมียมีกลีบประดับอยู่เกือบกลมขนาด 4-5 มม. ติดอยู่ตามแกนช่องดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3-5 แฉก ช่อดอกตัวผู้ที่มีดอกเกสรตัวผู้ 2 อัน
ผลรวมกันบนช่อยาว 5-15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 3-6 มม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่สุกเต็มที่สีส้มหรือสีแดง เมื่อผลแห้งมีสีดำ ภายในมี 1 เมล็ดเรียกพริกไทยดำ ขยี้เปลือกหลุดง่ายเรียกพริกไทยอ่อน เมล็ดแข็งค่อนข้างกลมมีกลิ่นเฉพาะฉุน รสเผ็ด [3] |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือรูปหัวใจปลายแหลมเล็กน้อย ใบกว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 7-10 ซม. ก้านใบยาว 10-20 มม. ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน ขอบใบบางพันธุ์เรียบบางพันธุ์หยักเป็นคลื่น
|
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อยาวประมาณ 7-14 ซม. เกิดตามข้อตรงข้ามกับใบ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยประมาณ 150 ดอกย่อย ช่อดอกขณะอ่อนมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกมีสีเขียว ดอกบานทั้งช่อประมาณ 5-7 วัน ช่อดอกตัวเมียมีกลีบประดับอยู่เกือบกลมขนาด 4-5 มม. ติดอยู่ตามแกนช่องดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3-5 แฉก ช่อดอกตัวผู้ที่มีดอกเกสรตัวผู้ 2 อัน
|
|
|
ผล |
ผลรวมกันบนช่อยาว 5-15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 3-6 มม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่สุกเต็มที่สีส้มหรือสีแดง เมื่อผลแห้งมีสีดำ ภายในมี 1 เมล็ดเรียกพริกไทยดำ ขยี้เปลือกหลุดง่ายเรียกพริกไทยอ่อน เมล็ดแข็งค่อนข้างกลมมีกลิ่นเฉพาะฉุน รสเผ็ด [3] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล เป็นเครื่องเทศ มีรสเผ็ด(คนเมือง,เมี่ยน)
- ผล นำมาบดผสมกับ เหง้าว่านกีบแรดสับแล้วตากแห้ง ดีปลี แล้วนำมาผสมน้ำผี้งเดือนห้า ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ใบ รสเผ็ดร้อน แต่งกลิ่นอาหาร มีฤทธิ์แก้ลมจุกเสียดแน่น แก้ปวดมวนท้อง
ดอก รสร้อน แก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง
ผลและเมล็ด รสเผ็ดร้อน แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องเทศ กระตุ้นปุ่มรับรสที่กลิ่นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากขึ้น ย่อยไขมัน จึงเชื่อว่าลดความอ้วนได้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ลมอัมพฤกษ์ แก้ลมลั่นในท้อง บำรุงธาตุ แก้มุตกิด แก้ไข้มาเลเรีย อหิวาตกโรค ไล่และฆ่าแมลงโดยทุบให้แตกโรยบริเวณที่ต้องการ
เถา รสร้อน แก้อุระเสมหะ แก้อติสาร
ก้าน รสเผ็ดอุ่น 10 ก้าน บดละเอียดต้มกับน้ำ 8 แก้ว ล้างแผลที่อัณฑะ
ราก รสร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร พริกป่าเล็ก พุดน้อย พริกป่า
ทั้งต้น รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้ปวดมวนในท้อง บำรุงธาตุ แก้อาการนอนไม่หลับ ขับลม ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ แก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้ลมบ้าหมู แก้เลือดกำเดาไหล ฟอกเลือดประจำเดือน แก้หิต แก้ไอ [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|