|
วงศ์ |
Icacinaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Pittosporopsis kerrii Craib |
|
|
ชื่อไทย |
มะขม, บะขม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
บะขม(คนเมือง), มะขม, มักยัง(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะขมเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบ สูง 8 เมตร เปลือกเรียบสีน้ำตาล มีช่องอากาศกระจายทั่วไป |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-21 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ยอดอ่อนสีแดง |
|
|
ดอก |
ช่อดอกกระจุกกลม ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ |
|
|
ผล |
ผลสด รูปทรงกลม เมล็ดเดียว แข็ง มีสีขาว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด เอามาต้มกินเนื้อข้างใน มีรสขม กินกับข้าวเหนียว หรือลาบเมล็ด(คนเมือง)
ผล ต้มสุกแล้วนำเนื้อในเมล็ดมารับประทานหรือกินกับข้าว(ขมุ)
- เมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาระบาย(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในป่าดิบ แสงแดดรำไร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|