|
วงศ์ |
Zigiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Amomum maximum Roxb. (Syn. Amomum dealbatum Roxb.) |
|
|
ชื่อไทย |
ก๊า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ล่ะก่อย่าน(เมี่ยน), กุ๊ก(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นแข็ง สูง 1-2 เมตร มีเหง้าใต้ดิน อายุหลายปี หัวสีขาวอมเหลือง รสเผ็ดขื่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. แผ่นใบเรียบเป็นมันวาว มีกาบใบห่อม้วนกันเป็นลำต้น ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นช่อออกที่โคนลำต้น มีกลีบเลี้ยงซ้อนกันอัดแน่น สีเขียวปนน้ำตาล กลีบดอกย่อยสีขาวเป็นหลอด พองเป็นกระเปาะ และปากเปิด ส่วนปากกลีบดอกที่เปิดมีแถบสีเหลือง 1 แถบตรงกลาง ผลกลมเกลี้ยง ขนาดเล็ก เมื่อแก่ผลจะแห้งและแข็ง |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้, ดอก รับประทานสดกับน้ำพริก(เมี่ยน)
ดอกหรือหน่ออ่อน ใช้รับประทานเป็นผักจิ้ม ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบมากในป่าดิบชื้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นได้ดีในที่มีความชื้นสูง ริมลำธาร ชอบดินร่วนซุย ไม่มีน้ำท่วมขัง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|