|
วงศ์ |
Polygonaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Polygonum odoratum Lour. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักไผ่ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แควจี่,พละจี่(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่ออุบ(ปะหล่อง), พาเหละ(กะเหรี่ยงแดง), โหยว(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ผักไผ่เป็นพืชล้มลุก สูง 30-35 ซม. ลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีรากงอกออกตามข้อที่สัมผัสดิน |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอก ขนาดใบกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-8 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ หูใบเชื่อมติดกันเป็นหลอดหุ้มลำต้นเหนือข้อ มีกลิ่นเฉพาะ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกกระจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือสีชมพูม่วง |
|
|
ผล |
ผลขนาดเล็ก เมล็ดจำนวนมาก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนและใบ รับประทานสดกับลาบ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบ รับประทานกับน้ำพริก ลาบ หรือนำไปเป็นส่วนประกอบอาหาร(ปะหล่อง)
ใบ รับปะทานสดกับลาบ(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ ใช้ใส่ลาบหรือแกงอ่อมเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม(เมี่ยน)
- ใบ หั่นแล้วต้มเอาน้ำไปเป็นส่วนผสมในการปั้นแป้งเหล้า(เมี่ยน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดินร่วนซุย ระบายน้ำดี แสงแดดส่องถึง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|