|
วงศ์ |
Araceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Pothos chinensis (Raf.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ตองงุม,ตะขาบเขียว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
สึมิโคะ(ลั้วะ), ฮ่าเดียแงง(เมี่ยน), ไพล้น่อย, หวายดิน(ขมุ), จ่อชึมื่อ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หวายหนู(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาล้มลุก ลำต้นเลื้อยเกาะสูงได้ประมาณ 10 ม. เป็นเหลี่ยมเล็กน้อย |
|
|
ใบ |
ใบเรียงชิดติดกันจำนวนมาก ออกในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปรี รูปไข่ ขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 3-21 ซม. ปลายใบตัด กลม หรือเป็นติ่ง โคนใบเรียวสอบ ก้านใบแผ่กว้างคล้ายแผ่นใบ ยาว 5-14 ซม. |
|
|
ดอก |
ยอดที่มีดอก มีใบประดับย่อยเล็กๆ และเกล็ดหุ้มยอด ช่อดอกแบบช่อเชิงลดมีกาบ ออกตามซอกใบ มี 1-2 ช่อ ก้านช่อยาวได้ประมาณ 2.5 ซม. กาบรูปไข่ เว้า พับงอ ยาว 0.4-1.2 ซม. โคนเป็นรูปหัวใจหุ้มก้านช่อดอก ปลายแหลมมีติ่ง ติดทน ช่อส่วนปฏิสนธิรูปไข่รีๆ หรือกลม สีเหลืองอ่อน ยาว 0.4-1.3 ซม. ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่แบนรีเป็นเหลี่ยม |
|
|
ผล |
ช่อผลมีช่อผลย่อยหลายช่อ แต่ละช่อผลย่อยมี 1-5 ผล ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงรีหรือรูปไข่ ยาว 1-1.8 ซม. สุกสีแดงเข้ม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น ฉีกออกเป็นเส้นๆแล้วใช้มัดสิ่งของแทนเชือก(ขมุ)
- ใบและต้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาหม้อ ช่วยล้างไต ขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำลัง และใช้เข้ายารักษาโรคริดสีดวง(คนเมือง)
ทั้งต้น นำไปต้มน้ำ แล้วให้ผู้หญิงดื่ม ช่วยคุมกำเนิด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ, ใบ หั่นแล้วผสมไข่ไก่นำไปตุ๋นกินแก้อาการไอ(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ใช้แทนดอกไม้ในพิธีกรรมต่างๆ(ลั้วะ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Pothos0chinensis0%28Raf.%290Merr. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|