ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Guava [3]
Guava [3]
Psidium guajava L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Myrtaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava L.
 
  ชื่อไทย ฝรั่ง
 
  ชื่อท้องถิ่น เปียวออย(เมี่ยน), แกว่สะโมะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มะแก๋ว(ไทลื้อ), ลำก้วยแก๋ว(ลั้วะ), แผละแกว(ลั้วะ), ลักกาโพ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), จ๊ดเทาะ(ม้ง), ฝรั่ง(คนเมือง), ไฮ่มะละก้า(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดกลางสูงประมาณ 3-5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
ใบ หนาและแข็งใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบ (upper epidermis) มีขนอ่อนนุ่มท้องใบ (lower epidermis) หยาบ เส้นใบรากแหชัดเจนมาก ผิวใบมีสีเขียวอมเทา เปลือกต้นเรียบ ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้นๆ
ดอก ช่อตรงส่วนยอดของกิ่งก้านช่อละ 2-3 ดอก ดอกสีขาว เกสรตัวผู้จำนวนมากกลิ่นหอม ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงมีความคงทนและติดที่ผลมีรูปร่างต่างๆกัน
ผล กลมโต ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีเขียวปนเหลือง เนื้อของผลมีสีนวลถึงเหลืองบางชนิด เนื้อผลสีแดง กลิ่นเฉพาะ เมล็ดภายในจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน [3]
 
  ใบ ใบ หนาและแข็งใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปใบรีปลายใบและโคนใบมน หลังใบ (upper epidermis) มีขนอ่อนนุ่มท้องใบ (lower epidermis) หยาบ เส้นใบรากแหชัดเจนมาก ผิวใบมีสีเขียวอมเทา เปลือกต้นเรียบ ยอดอ่อนมีขนอ่อนสั้นๆ
 
  ดอก ดอก ช่อตรงส่วนยอดของกิ่งก้านช่อละ 2-3 ดอก ดอกสีขาว เกสรตัวผู้จำนวนมากกลิ่นหอม ร่วงง่าย กลีบเลี้ยงมีความคงทนและติดที่ผลมีรูปร่างต่างๆกัน
 
  ผล ผล กลมโต ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีเขียวปนเหลือง เนื้อของผลมีสีนวลถึงเหลืองบางชนิด เนื้อผลสีแดง กลิ่นเฉพาะ เมล็ดภายในจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลดิบและสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล รับประทานได้, ใบ ใช้ต้มรับประทานแทนชา(ม้ง)
ช่อดอก รับประทานสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปยำ(คนเมือง)
- ใบสด ฉีกแล้วแช่ในน้ำเปล่าใช้ดื่มแก้อาการท้องร่วง(เมี่ยน)
ยอดอ่อนและราก ต้มน้ำดื่ม แก้อาการท้องร่วง และแก้ไอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ยอดอ่อน เคี้ยวกินสดรักษาอาการท้องร่วง (ถ้าจะให้ได้ผลต้องเคี้ยวจำนวน 7 ยอดอ่อนและต้องกลั้นหายใจขณะที่เด็ดยอดอ่อนด้วย)(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน กลั้นหายใจเด็ดมาจำนวน 3 ยอด นำมามัดรวมกันเป็นมัดแล้วตัดโคนใบและท้ายใบออกก่อน นำไปแช่น้ำดื่มรักษาอาการท้องร่วง(ไทลื้อ)
ยอดอ่อน รับประทานสดแก้อาการปวดท้อง(ลั้วะ)
ยอดอ่อน นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องร่วง(ลั้วะ)
- ใบ ใช้ในการย้อมสีผ้าช่วยให้สีย้อมติดผ้าดีขึ้นโดยต้มรวมกับวัตถุดิบที่เป็นสีย้อมและผลกล้วยดิบ(ปะหล่อง)
ใบและกิ่ง ใช้ย้อมผ้าให้สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม(คนเมือง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ใบ รสฝาด มีสารแทนนินเป็นยาฝาดสมาน ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องร่วง ล่างแผลสด ดูดหนอง เคี้ยวดับกลิ่นปาก
ใบสด 5-6 ใบ ตำให้ละเอียด พอกแผลห้ามเลือด รักษาแผล
ผลแก่ รสหวานเปรี้ยว เป็นผลไม้ ให้คุณค่าทางอาหารและวิตามินซีสูง แก้หวัด และทำดื่ม สมุนไพร ช่วยระงับกลิ่นปาก แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่มและไอศกรีม
ผลสุก รสหวาน ดับกลิ่นปาก แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและไอศกรีม หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องร่วง ลดน้ำตาลในเลือด [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง