|
วงศ์ |
Papilionaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC. |
|
|
ชื่อไทย |
ถั่วพู |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ถั่วปู |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ถั่วปูเป็นไม้เถาเลื้อย มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่ใต้ดิน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนใบตัด ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบหรือปลายยอด สีขาวหรือสีม่วงแกมน้ำเงิน ผลเป็นฝักแบน สีเขียว มี 4 ครีบตามแนวยาว ภายในมีเมล็ดกลมหลายเมล็ด สีน้ำตาลเข้ม |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล รับประทานสดหรือนำไปประกอบอาหารเช่น แกง ผัด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- กินเป็นผักสดหรือลวกกินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ บ้างนำไปผัดใส่ปลากระป๋อง ยำใส่น้ำพริกเผาและมะพร้าวคั่ว หรือเป็นส่วนประกอบของแกงแค (คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|