ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Punic Apple, Pomegranate
Punic Apple, Pomegranate
Punica granatum L. var. granatum
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Punicaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Punica granatum L. var. granatum
 
  ชื่อไทย ทับทิม
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะเก๊าะ (ภาคเหนือ), มะก่องแก้ว พิลาขาว (น่าน), หมากจัง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิลา (หนองคาย), เจียะลิ้ว (จีน) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้น หรือพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลักษณะผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ส่วนที่เป็นกิ่งหรือยอดอ่อนจะเป็นเหลี่ยม หรือมีหนามแหลมยาวขึ้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวกลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็นดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือสุกเต็มที่สีเหลืองปนแดง และลักษณะของผลจะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูเหลี่ยม มีสีชมพูสด [1]
 
  ใบ ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปยาวรี โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวกลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ใต้ท้องใบจะเห็นเส้นใบได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.8 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม.
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อ หรืออาจจะเป็นดอกเดียว ในบริเวณปลายยอด หรือง่ามกิ่ง ลักษณะของดอกมีเป็น สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ดอกหนึ่งมีกลบดอกประมาณ 6 กลีบ ปลายกลีบดอกจะแยกออกจากกัน ตรงกลางดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้ซึ่งมีอับเรณูเป็นสีเหลือง ขนาดของดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 ซม.
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกนอกหนาเกลี้ยง ผลเมื่อแก่หรือสุกเต็มที่สีเหลืองปนแดง และลักษณะของผลจะแตก หรืออ้างออก ข้างในผลจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูเหลี่ยม มีสีชมพูสด [1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ราก เป็นส่วนประกอบในยาสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรอื่นๆ เช่น รากมะพร้าวไฟ รากข่อย รากมะโจ้ก รากฝรั่ง รากกระท้อน นำทั้งหมดมาต้มน้ำดื่ม(คนเมือง)
- เปลือกลำต้น ในเปลือกของลำต้นจะมีอัลกาลอยด์ประมาณ 0.35-0.6 % เป็นอัลกาลอยด์ในเปลือกของลำต้นนี้มีชื่อเรียกว่า Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ผลดี
ใบ ใช้ใบสดนำมาต้ม กรองเอาน้ำใช้ล้างแผลเนื่องจากมีนองเรื้อรังบนหัว หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาไปพอกในบริเวณที่แผลถลอก เนื่องจากหกล้มได้เป็นต้น
ดอก ใช้ดอกที่แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกรองเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ให้เลือดกำเดาแข็งตัว และแก้หูชั้นในอักเสบ หรือใช้ดอกแห้งนำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือโรยบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก
เปลือกผล ใช้เปลือกผลที่แห้งประมาณ 2.5-4.5 กรัม นำมาบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา หรือนำมาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้โรท้องเสีย โรคบิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายพยาธิ ตกขาว ดากออก แผลหิด และกลากเกลื้อนเป็นต้น
เมล็ด ใช้เล็ดที่แงแล้วประมาณ 6-9 กรัม นำมาบดให้ละเอียด หรือทำเป็นยาก้อนกิน เป็นยาแก้โรคปวด จุกแน่นเนื่องจากโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง เป็นต้น
เปลือกราก ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้ว ประมาณ 6-12 กรัม นำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น [1]
- ในประเทศอินเดียทางด้านแถบตะวันตกเฉียงใต้ ได้มีการใช้เปลือกผลทับทิม นำมาย้อมผ้า ซึ่งใช้ผสมกับคราบหรือขมิ้นจะได้สีผ้าที่ย้อมนั้นเป็นสีน้ำตาลอมแดง แต่ถ้าใช้เปลือกผลอย่างเดียวก็จะได้เป็นสีเขียว ผ้าที่ย้อมชนิดนี้เรียกว่า RAKREZI [1]
- ตำรับยา
1. บาดแผลจากเชื้อรา แผลเรื้อรังที่ผิวหนัง ให้ใช้เปลือกรากพอประมาณ นำมาต้มใช้นำล้างแผล
2. เป็นบิดเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้เปลือกผล นำมาผิงไฟให้เกรียม แล้วนำมาบดให้ละเอียด ประมาณ 3-6 กรัม ผสมกับน้ำข้าวกิน หรือน้ำมะเขือยาว 1 ลูก แล้วต้มเอาน้ำดื่มกิน
3. เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ถูกน้ำร้อนลวก และแผลจากไฟไหม้ ใช้คั่วหรือผิงให้ไหม้เกรียม และบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืชคลุกให้เข้ากันแล้วใช้ทาบริเวณแผล หรือใช้เปลือกผลหรือสารส้มในปริมาณเท่าๆ กัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น
4. เท้าที่เป็นแผลเน่าเรื้อรัง ให้ใช้เปลือกผลนำมาต้มเคี่ยวน้ำให้เหลว แล้วปล่อยให้ตกตะกอน จากนั้นก็ใช้ทาบริเวณแผลที่เป็นทุกวัน
5. แก้เลือดกำเดาไหลไม่หยุด
- ใช้ดอกทับทิมสด โขลกหรือหั่นให้เป็นฝอย แล้วใช้อุดรูจมูก
- ใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียดประมาณ 0.3 กรัม ใช้เปาเข้ารูจมูก
- ใช้ดอกแห้งประมาณ 0.3 กรัม และดอกปอแก้วประมาณ 3 กรัม นำมาบดผสมกันให้ละเอียด แล้วนำมาต้มหรือใช้ผสมกับน้ำกินในปริมาณ 3 กรัม ต่อน้ำ 1 แก้ว
6. ขับพยาธิตัวกลม และตัวตืด ให้ใช้เปลือกรากที่แห้งแล้วประมาณ 18 หรือ 25 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ต้มน้ำกิน หรือรินเอาน้ำต้มใส่ข้าวข้นๆ กินก่อนอาหาร
7. หญิงที่เป็นระดูขาวหรือตกเลือดมากผิดปกติ ให้ใช้รากที่สด ประมาณ 1 กำมือ นำมาเผาไฟให้เกรียม จากนั้นเอาไปต้ม หรือเคี่ยวกับน้ำให้ข้น ใช้กินครั้งละ 1 แก้ว
8. นิ่วในไต ให้ใช้รากสด และลำต้นกิมจี่เช่า ในปริมาณ 30 กรัม เท่ากัน นำมาต้มใช้น้ำกิน
9. แผลที่ถูกคมมีด หรือของมีคมทุกชนิด ที่มีเลือดไหลให้ใช้ดอกที่แห้งแล้ว นำมาตำให้ละเอียดและใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล
10. หูชั้นกลางอักเสบ ให้ใช้ดอกสดนำมาผิงไฟให้เกรียมบนก้อนอิฐ จากนั้นนำมาบดให้ละเอียดผสมกับพิมเสนพอประมาณ ใช้เป่าเข้าหู
11. สำหรับเด็กที่ไม่เจริญอาหาร อาเจียนเป็นโลหิต หรือจมูกและฟันไม่ปกติ ให้ใช้ดอกสด (แห้ง) นำมาต้มน้ำกิน [1]
- ตำรับยา (สัตว์)
1.ถ่ายพยาธิตัวกลมในสุกร ให้ใช้เปลือกรากและผลเล็บมือนาง ในปริมาณ 15 กรัม เท่ากัน และเมล็ดหมากอีก 10 กรัม นำมาต้มน้ำให้กิน
2. ถ่ายพยาธิตัวตืดกับสัตว์เลี้ยง ให้ใช้เปลือกรากนำมาบดให้ละเอียด แล้วดอง หรือแช่ในน้ำประมาณ 4-5 ซม. จากนั้นนำไปต้มให้สัตว์กิน (เปลือกรากผง สัตว์ที่มีอายุมากให้ใช้ในปริมาณ 30-60 กรัม สำหรับสัตว์ที่มีอายุอ่อนหรือปานกลาง ให้ใช้ปริมาณ 10-12 กรัม)
3. ม้าและวัว ที่อ่อนแอหมดกำลัง ให้ใช้เปลือกของผลที่แห้งแล้วในปริมาณ 30 กรัม นำมาต้มให้ละเอียดใช้ละลายน้ำให้กิน
4. ลูกสุกรเป็นโรคบิด ให้ใช้เปลือกผลประมาณ 3 กรัม และเจียวซัวจา ผสมกันแล้วคั่วให้แห้ง แล้วเติมใบกี๊บักประมาณ 10 กรัม นำมาต้มเอาให้กิน
5. ห้ามเลือดสำหรับบาดแผลข้างนอก ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้วบดให้ละเอียดใช้โรยบริเวณที่เป็นแผล [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง