|
วงศ์ |
Apocynaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Amalocalyx microlobus Pierre ex Spire |
|
|
ชื่อไทย |
หยั่งสมุทร |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เพี๊ยะแว๊ด(ลั้วะ), หระเฮะ(ขมุ), ซิมคา(ไทลื้อ), เครือกอน(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถา |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปมนแผ่ กว้าง 8-18 ซม. ยาว 10-19 ซม.โคนใบหยักเว้าปลายใบสอบ ปลายสุกมักคอดเป็นติ่ง ด้านท้องงใบมีขนนุ่มหนาแน่น ส่วนหลังมีขนประปราย ก้านใบยาว 1-4 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบมีขนนุ่ม กลีบดอกสีชมพู ติดกันเป็นถ้วยยาวปลายแฉกเป็น 5 แฉกตื้น ๆ เกสรผู้ 5 อันติดอยู่กับผนังดอกด้านใน |
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักแข็ง ๆ รูปกรวยแหลม กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-10 ซม. มีขนยาว ๆ คลุมแน่น ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก ปลายเมล็ดมีขนยาว ๆ ติดเป็นกระจุก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ดอกและผล นำมาจิ้มเกลือหรือน้ำปลา มีรสเปรี้ยว(ลั้วะ)
ผล นำมาฝานเป็นแว่นๆ ใส่น้ำพริกหรือแกงเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว, ดอก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(ขมุ)
ผลอ่อน นำมาจิ้มเกลือรับประทานได้(ไทลื้อ)
- เส้นใยจากลำต้นและเนื้อไม้จากเครือแก่ ใช้สานตาข่ายจับปลา(ในสมัยก่อน)(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|