ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเหลี่ยมหิน, ส้มผด
มะเหลี่ยมหิน, ส้มผด
Rhus javanica L. var. chinensis (Mill.) T. Yamaz.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Anacardiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhus javanica L. var. chinensis (Mill.) T. Yamaz.
 
  ชื่อไทย มะเหลี่ยมหิน, ส้มผด
 
  ชื่อท้องถิ่น เส่ชิ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำยึ, ไม้สมโพด(ลั้วะ), ส้มผด(คนเมือง), เพี๊ยะยึ, มักพด(ลั้วะ), แผละยึ(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 18 ซม. เปลือกนอกสีผิวสีน้ำตาลอมขาวหม่น เมื่อแก่มีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมขาวหม่น เมื่อแก่มีรูอากาศขนาดใหญ่สีน้ำตาลอมแดงเรียงเป็นแถว เปลือกในสีขาวหม่น มียางสีขาวหม่นหรือขาวอมเหลืองอ่อน
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ช่อใบยาว 25-40 ซม. เรียงสลับระหว่างช่อเวียนรอบกิ่งหรือต้น ก้านช่อใบยาว 8-11 ซม. แกนในร่วมแบนข้างเล็กน้อย แผ่เป็นสันคล้ายปีก ใบย่อยไม่มีก้านใบจับคู่กัน 3-6 คู่ รูปไข่กว้างหรือรูปไข่แกมขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 2.5-8.0 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม เรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งมนหรือสอบแคบ สองข้างไม่สมมาตร ขอบใบหยักคล้ายฟันเล็กๆ ใบเมื่ออ่อนยังมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น เมื่อแก่สีเขียวเข้ม ผิวสาก และมีขนละเอียดสีน้ำตาลเฉพาะบนเส้นใบด้านบน ด้านล่างมีมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่เปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มก่อนร่วงบนเส้นใบด้านบน ด้านล่างมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่เปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มก่อนร่วงดอกออกเป็นช่อกระจะแยกแขนงที่ยอดหรือปลายกิ่ง
ดอก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศหรืออาจแยกเพศแยกช่ออยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้ยาว 30-40 ซม. ช่อดอกเพศเมียยาว 15-20 ซม. แขนงช่อดอกยาวได้ถึง 25 ซม. ดอกย่อยเล็ก กลีบเลี้ยงสั้นกว่า 1 มม. โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีกว้างหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 1.8-2.2 มม. สีขาวหรือเหลืองอ่อนอมเขียวอ่อน เกสรเพศผู้ 5 อัน ที่ไม่เป็นหมันยาวประมาณ 2 มม. ที่เป็นหมันยาว 1.0-1.5 มม. เรียงล้อมรอบหมอนรองดอกที่มี 5 พู รังไข่ค่อนข้างกลมนูนอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ภายในมี 1 ช่อง ก้านเกสร 3 อัน
ผล รูปร่างเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 มม. มีกลีบเลี้ยงรองรับ เมื่ออ่อนสีขาวอมเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูถึงสีแดงจัดแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น
เมล็ดมีชั้นหุ้มแข็ง
ใบของพืชชนิดนี้มักจะมีแมลงขนาดเล็กคล้ายแมลงหวี่ลงทำลายทำให้เกิดปมเป็นตุ่มขนาดใหญ่สีแดงงอกออกมาเป็นกลุ่มคล้ายผลเห็นได้ชัดเจนกระจายอยู่ทั่วทั้งต้น [11]
 
  ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ช่อใบยาว 25-40 ซม. เรียงสลับระหว่างช่อเวียนรอบกิ่งหรือต้น ก้านช่อใบยาว 8-11 ซม. แกนในร่วมแบนข้างเล็กน้อย แผ่เป็นสันคล้ายปีก ใบย่อยไม่มีก้านใบจับคู่กัน 3-6 คู่ รูปไข่กว้างหรือรูปไข่แกมขอบขนานถึงรูปใบหอก ขนาดกว้าง 2.5-8.0 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม เรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบโค้งมนหรือสอบแคบ สองข้างไม่สมมาตร ขอบใบหยักคล้ายฟันเล็กๆ ใบเมื่ออ่อนยังมีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น เมื่อแก่สีเขียวเข้ม ผิวสาก และมีขนละเอียดสีน้ำตาลเฉพาะบนเส้นใบด้านบน ด้านล่างมีมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่เปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มก่อนร่วงบนเส้นใบด้านบน ด้านล่างมีแบบเดียวกันปกคลุมค่อนข้างหนาแน่น ใบแก่เปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มก่อนร่วงดอกออกเป็นช่อกระจะแยกแขนงที่ยอดหรือปลายกิ่ง
 
  ดอก ดอก ดอกย่อยสมบูรณ์เพศหรืออาจแยกเพศแยกช่ออยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นกัน ช่อดอกเพศผู้ยาว 30-40 ซม. ช่อดอกเพศเมียยาว 15-20 ซม. แขนงช่อดอกยาวได้ถึง 25 ซม. ดอกย่อยเล็ก กลีบเลี้ยงสั้นกว่า 1 มม. โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีกว้างหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.0-1.5 มม. ยาว 1.8-2.2 มม. สีขาวหรือเหลืองอ่อนอมเขียวอ่อน เกสรเพศผู้ 5 อัน ที่ไม่เป็นหมันยาวประมาณ 2 มม. ที่เป็นหมันยาว 1.0-1.5 มม. เรียงล้อมรอบหมอนรองดอกที่มี 5 พู รังไข่ค่อนข้างกลมนูนอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น ภายในมี 1 ช่อง ก้านเกสร 3 อัน
 
  ผล ผล รูปร่างเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 มม. มีกลีบเลี้ยงรองรับ เมื่ออ่อนสีขาวอมเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูถึงสีแดงจัดแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว ผิวมียางเหนียวและมีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่น
เมล็ดมีชั้นหุ้มแข็ง
ใบของพืชชนิดนี้มักจะมีแมลงขนาดเล็กคล้ายแมลงหวี่ลงทำลายทำให้เกิดปมเป็นตุ่มขนาดใหญ่สีแดงงอกออกมาเป็นกลุ่มคล้ายผลเห็นได้ชัดเจนกระจายอยู่ทั่วทั้งต้น [11]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ตำใส่เกลือและพริกรับประทานได้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(ลั้วะ)
ผล รับประทานโดยใช้คลุกกับเกลือหรือกะปิ(ลั้วะ)
เปลือกต้น ใช้ขูดใส่ลาบช่วยให้มีรสชาติอร่อย(คนเมือง)
ผล กินร่วมกับลำชิเพียร มีรสเปรี้ยวๆเค็มๆ(ลั้วะ)
- ผล เคี้ยวกินแล้วดื่มน้ำตาม ช่วยรักษาโรคริดสีดวง , ผล แช่น้ำใส่เกลือ ดื่มแก้อาการหวัด(ใช้ได้ผลกับบางคนเท่านั้น)(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล นำไปตำผสมกับขิงรับประทานแก้อาการไอ(ลั้วะ)
- ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุก ซึ่งมีรสเปรี้ยว ลำต้นใช้ทำรั้ว กิ่งก้านใช้ทำฟืน มูเซอใช้ยอดอ่อนผสมไข่หมกกินแก้ท้องเสีย อีก้อใช้ใบอ่อนผสมหน่อไม้กินเป็นอาหารประเภทผัก ใช้ใบพืชชนิดนี้ 9 ใบวางบนก้อนหินในยุ้งฉางก่อนใส่ข้าวเพื่อเก็บโดยเชื่อว่าจะทำให้ข้าวปลอดภัยจากการทำลายของสัตว์ อีก้อ และม้งใช้ใบตำเป็นยาพอกสำหรับห้ามเลือด สมานแผล ต้มน้ำอาบแก้อาการผื่นคัน ตุ่มพองและโรคผิวหนังตามร่างกาย และให้สตรีอาบหลังคลอดบุตรใหม่ๆ ใช้ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อยอาหารเป็นพิษ [11]
ใช้ลำต้น ราก และใบต้มใช้น้ำทำความสะอาดร่างกาย และใช้เป็นยาพื้นบ้านล้านนา โดยใช้รากผสมกับรากสาบเสือ รากปืนนกไส้ และก้นจ้ำทั้งต้น และผักปลาบทั้งต้น ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้น้ำมูก ใช้ต้นและเมล็ดตำพอกแก้บาดแผล ต้มน้ำดื่มแก้อาการเจ็บคอและหวัด [11]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง