|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
- Sugar cane - Sugar Cane [3]
|
- Sugar cane - Sugar Cane [3]
Saccharum officinarum L. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Poaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Saccharum officinarum L. |
|
|
ชื่อไทย |
อ้อย, อ้อยดำ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- เก่อที (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), อ้อยดำ(คนเมือง), เดอะหม่ายว้อง(ปะหล่อง), โก้นจั่ว(ม้ง), มี(ลั้วะ), กำเซี่ย(เมี่ยน) - อ้อย, อ้อยดำ (ภาคกลาง), กะที (กะเหรียง-แม่ฮ่องสอน), อำโป (เขมร) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ แข็งแรง เปลือกต้นแข็งมาก เป็นสีม่วงแดงและเป็นมัน ส่วนเนื้อในสีขาว ฉ่ำน้ำ มีรสหวาน ลำต้นสูงประมาณ 2-5 เมตร ตามข้อมีตา
ใบ เดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแคบ และมีความยาวประมาณ 0.5-1 เมตร กว้างประมาณ 2.5-5 เมตร เนื้อใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน ขอบใบหยักถี่เป็นหนามคม เส้นกลางใบใหญ่เป็นสีขาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นติดแน่นอยู่ตามบริเวณข้อแต่ละข้อ และออกสลับเวียนกันขึ้นไป
ดอก จะออกตรงปลายยอด รวมกันเป็นช่อใหญ่ยาว ดอกสีขาว ก้านช่อดอกไม่มีขน ช่ออาจยาวได้ถึง 1 เมตร หรือมากกว่านั้น มักจะออกดอกในฤดูหนาวแสดงว่าลำต้นนั้นแก่เต็มที่แล้ว [3] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแคบ และมีความยาวประมาณ 0.5-1 เมตร กว้างประมาณ 2.5-5 เมตร เนื้อใบมีขนสากทั้ง 2 ด้าน ขอบใบหยักถี่เป็นหนามคม เส้นกลางใบใหญ่เป็นสีขาว โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นติดแน่นอยู่ตามบริเวณข้อแต่ละข้อ และออกสลับเวียนกันขึ้นไป
|
|
|
ดอก |
ดอก จะออกตรงปลายยอด รวมกันเป็นช่อใหญ่ยาว ดอกสีขาว ก้านช่อดอกไม่มีขน ช่ออาจยาวได้ถึง 1 เมตร หรือมากกว่านั้น มักจะออกดอกในฤดูหนาวแสดงว่าลำต้นนั้นแก่เต็มที่แล้ว [3] |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น ปอกเปลือกออก เคี้ยวเนื้อที่ลำต้นเพื่อกินน้ำหวาน แล้วคายกากทิ้ง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ลำต้น รับประทานแก้กระหายน้ำหรือรับประทานเป็นของกินเล่น(เมี่ยน)
ลำต้น รับประทานได้มีรสหวาน(ม้ง,ลั้วะ)
- ปล้องที่ลำต้น ผ่าครึ่งซีกแล้วต้มรวมกับยาต้มช่วยให้ยาต้มดื่มง่าย มีรสหวาน หรือผ่าแล้วเอาเกลือทานำไปเผาไฟแล้วเคี้ยว กินแก้ไข้ และแก้อาการเจ็บคอ(คนเมือง)
ลำต้น หมกไฟแล้วผ่าเอาน้ำอ้อยทามาขาเด็กที่ไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยทำให้มีแรงเดินขึ้นมาได้(ปะหล่อง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ยาขับปัสสาวะ ใช้ลำต้นสด สับเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 กำมือ (สด 70-90 กรัม หรือแห้ง หนัก 30-40 กรัม) หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่ม วันละ 2-3 ตรั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75มล.)
แก้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ใช้รากอ้อย 10 กรัมต้มกับสุรา กินครั้งเดียวหมด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
แก้อาเจียน ใช้น้ำอ้อยสดครึ่งแก้วผสมน้ำคั้นจากขิงสด 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน ตั้งบนไฟพออุ่น ดื่มให้หมดในครั้งเดียววันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
เปลือกต้น รสฝาดหวานเอียน แก้แผลเน่าเปื่อย
ชานอ้อย รสหวานเอียน ฝาดเล็กน้อย แก้แผลเรื้อรัง และแก้ฝีอักเสบบวม
ลำต้น รสหวาน แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้ แก้ขัดเบา ขับนิ่ว แก้ท้องผูก [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบปลูกในสวน และบริเวณบ้านเรือน ทั่วไป ชอบดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุสูง น้ำไม่ท่วมและมีการระบายน้ำดี ชอบแสงมาก |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|