|
วงศ์ |
Sapindaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sapindus rarak DC. |
|
|
ชื่อไทย |
มะคำดีควาย, มะซัก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลำสิเล้ง,หมากซัก(ลั้วะ), สะเหล่เด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หลี่ชีเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะซัก(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะของลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลอมเทาพื้นผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ เรือนยอดของลำต้นค่อนข้างหนาทึบ
ใบ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อยประมาณ 5-9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากันส่วนปลายใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.6-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5-4 นิ้ว ใบมีสีเขียวคล้ายๆ กับใบทองกลาง
ดอก ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก สีนวลขาว หรือสีเหลืองอ่อนๆ ดอกหนึ่งมีกลีบรองกลีบดอกเล็ก ประมาณ 4 กลีบโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5กลีบ กลีบข้างนอกจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปนแดง ขึ้นประปรายและตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน
ผล ผลมีรูปลักษณะค่อนข้างกลม ออกรวมกันเป็นพวง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.65 นิ้ว ผลมีสีดำข้างในผลมีเมล็ดเปลือกหุ้มที่แข้ง ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น [1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อยประมาณ 5-9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากันส่วนปลายใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.6-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5-4 นิ้ว ใบมีสีเขียวคล้ายๆ กับใบทองกลาง
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกตามบริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก สีนวลขาว หรือสีเหลืองอ่อนๆ ดอกหนึ่งมีกลีบรองกลีบดอกเล็ก ประมาณ 4 กลีบโคนกลีบจะเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5กลีบ กลีบข้างนอกจะมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปนแดง ขึ้นประปรายและตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีรูปลักษณะค่อนข้างกลม ออกรวมกันเป็นพวง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.65 นิ้ว ผลมีสีดำข้างในผลมีเมล็ดเปลือกหุ้มที่แข้ง ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น [1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
- เมล็ด รับประทานทั้งเมล็ด มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิ(ลั้วะ)
ยอดอ่อน นึ่งกินแก้อาการถ่ายไม่ออก และแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ(ลั้วะ)
ใบอ่อน ต้มน้ำดื่มกินแก้อาการท้องผูก, เมล็ด กินแล้วทำให้ ท้องเสีย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ผล นำมาทุบแล้วนำไปแช่น้ำ ใช้ซักเสื้อผ้า(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,คนเมือง,ลั้วะ)
- ราก ขับเสมหะ เปลือก แก้กระษัย แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน ผล ดับพิษทั้งปวง ดับพิษแก้ร้อนภายใน แก้ไข้ แก้หอบหืด รักษาโรคผิวหนัง รังแค และชันนะตุ เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง [5]
- เปลือกลำต้น นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้ฝีอักเสบ แก้ฝีหัวคว่ำ และเป็นยาแก้กระษัยเป็นต้น
ใบ นำมาปรุงใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ แก้ทุราวสา
ผล ใช้ผลที่แห้งนำมาคั่วให้เกรียม จากนั้นใช้ปรุงเป็นยาดับพิษได้ทุกชนิด แก้กาฬภายใน แก้ไข้ แก้หืด หอบ แก้โรคผิวหนัง และแก้เสลดสุมฝีที่เปื่อยพัง
เมล็ด ใช้เมล็ดสดหรือแห้ง นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกหรือเอามาละลายน้ำล้างแผล แก้โรคผิวหนัง
ชาวบ้านตามชนบท นิยมใช้ผลประคำดีควาย แทนสบู่ใช้ซักผ้า เพราะผลเมื่อนำมาทุบจะมีฟองคล้ายสบู่ [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|