|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sauropus thorelii Beille |
|
|
ชื่อไทย |
สะเลียมหอม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
สะเลียมไคร้(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
สะเลียมไค้มันหรือไค้มันเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1.5 เมตร เปลือกสีน้ำตาล |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปหอก กว้าง 2.7-8 ซม. ยาว 6.5-26 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนสอบแหลม ขอบและผิวเรียบ หลังใบสีอ่อนกว่าท้องใบ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกเป็นกระจุก จำนวนมาก ตามกิ่ง ต้น และซอกใบ ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ สีชมพูเข้ม เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ ดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 2 ชั้น เหมือนกัน แต่สีเขียวอ่อน |
|
|
ผล |
ผลรูปครึ่งวงกลมคว่ำลง ลักษณะแข็ง มีสันโดยรอบ ผิวขรุขระ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ รับประทานกับลาบปลา ยอดรับประทานกับน้ำพริก(คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในประเทศไทยและประเทศลาว ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคเหนือ มีมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศลาวพบในพื้นที่เขตชายแดนที่ติดกับภาคเหนือของประเทศไทย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|