|
วงศ์ |
Araliaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Schefflera leucantha R. Vig. |
|
|
ชื่อไทย |
หนุมานประสานกาย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หนุมานประสานกาย(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ผิวลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง
ใบ ใบออกเป็นกระจุก แผ่ออกแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 7 – 8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมเรียว โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ริมขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2 – 4 นิ้ว ก้านใบย่อยยาวประมาณ 8 - 25 มม.
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งยาวประมาณ 3 – 5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อย เป็นดอกสีเขียว มีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3 – 7 มม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความยาวประมาณ 5 – 6 มม. กว้างประมาณ 4 – 5 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบออกเป็นกระจุก แผ่ออกแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 7 – 8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมเรียว โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ริมขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2 – 4 นิ้ว ก้านใบย่อยยาวประมาณ 8 - 25 มม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ๆ หนึ่งยาวประมาณ 3 – 5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อย เป็นดอกสีเขียว มีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3 – 7 มม.
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความยาวประมาณ 5 – 6 มม. กว้างประมาณ 4 – 5 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด[1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยาง ใช้ใส่แผลสด ทำให้แผลแห้งเร็ว(คนเมือง)
- ใบ ใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาน้ำ หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำ ผสมกับสุราเป็นยาแก้ไอ แก้หอบหืด แก้อาเจียนเป็นเลือด และแก้พิษต่าง ๆ หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดเอากาก ใช้ทาหรือพอก สมานแผล ห้ามเลือด เป็นต้น |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|