ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ������������������, ���������������
มังตาน, ทะโล้
Schima wallichii (DC.) Korth.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Theaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Schima wallichii (DC.) Korth.
 
  ชื่อไทย มังตาน, ทะโล้
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้กาย(ไทใหญ่), กรึ๊สะ, เต่อครื่อยสะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำโคระ,ลำพิโย๊วะ,ลำคิโยะ(ลั้วะ), ทะโล้(คนเมือง), ตุ๊ดตรุ(ขมุ), เส่ยือสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรงสูงประมาณ 15-25 เมตร ขนาดวัดรอบลำต้นได้ถึง 1.5 เมตร เปลือกนอกขรุขระแลมักแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีทาปนน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เป็นพิษต่อผิวหนัง
 
  ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกตามปลายกิ่งสลับกันไปและมักติดเป็นกระจุกตามปลายๆกิ่ง โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือบางที่หยักตื้นๆตามขอบ หลังใบมักมีสีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนขึ้นประปราย
 
  ดอก ดอก สีขาวหรือขาวนวล ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลิ่นหอม ก้านดอกยาว กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีจำนวนเท่ากันอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกล่างมักเล็กกว่ากลีบอื่น เกสรผู้มีจำนวนมาก สีเหลือง เกสรเมียมีอันเดียวสั้น
 
  ผล ผลค่อนข้างกลม ผิวแข็งโตประมาณ 2.5-3 ซม. เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลเข้มและจะแตกออกตามรอยประสาน เป็น 4-5 เสี่ยง แต่ละส่วนมีเมล็ด 4-5 เมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ต้นและราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่ว(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ไม้กระดานทำ ฝาบ้าน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ขมุ,ไทใหญ่,ลั้วะ)
- เปลือกไม้และเนื้อไม้ หากสัมผัสโดนจะเกิดอาการคัน(ไทใหญ่,ลั้วะ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืนสำหรับนึ่งเมี่ยง(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง