ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะไฟแรด
มะไฟแรด
Scleropyrum wallichianum (Wight
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Santalaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Scleropyrum wallichianum (Wight
 
  ชื่อไทย มะไฟแรด
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะเงาะป่า(ลั้วะ) - ขี้หนอน เคาะหนาม (เชียงใหม่) นมวัว (นครราชสีมา) มะไฟแรด (ระยอง) เหมือดคน (กลาง, สระบุรี, จันทบุรี) [11]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาลอมเทา เรือนยอดตั้งตรง รูปทรงกระบอก กิ่งย่อยมักย้อยลง ค่อนข้างกลมเขียว ผิวเกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาล มีหนามตามลำต้นและกิ่งประปราย
ใบ เดี่ยว เรียงสลับแบบเวียนรอบต้น มักจะเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3- 5 ใบ ทิ้งระยะหางกันพอสมควร ก้านใบยาว 5-10 มม. ค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง แผ่นใบรูปใบหอกยาวรีถึงรูปไข่หรือไข่กลับ ขนาดกว้าง 3.0-7.0 ซม. ยาว 4-16 ซม. ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบและมักจะหงิกคล้ายลูกคลื่นเนื้อใบค่อนไปทางบางและอ่อนนุ่ม ผิวใบเกลี้ยง ใบแก่ค่อนไปทางหนาคล้ายหนัง เส้นใบข้าง 5-8 คู่
ดอก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก จากง่ามใบบริเวณใกล้ยอด ดอกย่อยเมื่อยังอ่อนค่อนข้างกลม สีเขียวอยู่ค่อนข้างกระจาย [11]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับแบบเวียนรอบต้น มักจะเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3- 5 ใบ ทิ้งระยะหางกันพอสมควร ก้านใบยาว 5-10 มม. ค่อนข้างกลม ผิวเกลี้ยง แผ่นใบรูปใบหอกยาวรีถึงรูปไข่หรือไข่กลับ ขนาดกว้าง 3.0-7.0 ซม. ยาว 4-16 ซม. ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบเรียบและมักจะหงิกคล้ายลูกคลื่นเนื้อใบค่อนไปทางบางและอ่อนนุ่ม ผิวใบเกลี้ยง ใบแก่ค่อนไปทางหนาคล้ายหนัง เส้นใบข้าง 5-8 คู่
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก จากง่ามใบบริเวณใกล้ยอด ดอกย่อยเมื่อยังอ่อนค่อนข้างกลม สีเขียวอยู่ค่อนข้างกระจาย [11]
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
เมล็ด แกะเปลือกแล้วเอาเนื้อในเมล็ดไปย่างไฟ แล้วนำไปตำน้ำพริก(คนเมือง)
- ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ลำตันต้มน้ำเป็นยาระงับปวด แก้อาการปวดภายในร่างกาย ปวดอันเกิดจากมะเร็ง [11]
ชาวบ้านพื้นล่างมักเก็บผิดบ่อยๆ โดยเข้าใจว่าเป็นผักหวาน Melientha suavis เพราะใบมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ใบและดอกเป็นพิษ เมื่อนำไปกินแล้วทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียนและอาจทำให้ถึงตายได้ ต้องล้างท้องและให้น้ำเกลือ [11]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง