ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Macao tea - Sweet Broomweed, Macao Tea [1]
- Macao tea - Sweet Broomweed, Macao Tea [1]
Scoparia dulcis L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Scrophulariaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Scoparia dulcis L.
 
  ชื่อไทย กรดน้ำ, หญ้าปีกแมลงวัน
 
  ชื่อท้องถิ่น โบ่กกะด้า(ปะหล่อง), หน่อก่ะเส่เอะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ขี้เปี้ยลุกฟ้อน/สะ เรียมดิน,หญ้าขัดย่าขาว(คนเมือง), นดกิโดะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), อิ่นยุเมียะ(เมี่ยน), กะเหล่าฉะ(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นไร้ขน มีความสูงประมาณ 25-80 ซม.
ใบ เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง กิ่ง กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก
ดอก ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน และเกสรตัวผู้มี 4 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก [1]
 
  ใบ ใบ เป็นสีเขียวแก่ ใบเล็ก ขอบของใบจะหยักแบบฟันปลายาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบออกตรงข้ามกันเป็นเกลียวรอบกิ่ง กิ่ง กิ่งเล็กเรียว กิ่งแผ่สาขามาก
 
  ดอก ดอก ดอกสีขาว เล็ก กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบ เกสรตัวเมียมี 1 อัน และเกสรตัวผู้มี 4 อัน ต้นหนึ่งจะมีดอกมาก [1]
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน รับประทานกับลาบ(ปะหล่อง,ลั้วะ)
ทั้งต้น ลวกกินกับน้ำพริก มีรสหวานเล็กน้อย(คนเมือง)
ใบ เคี้ยวกินเล่นมีรสหวานหรือใช้รับประทานกับลาบหรือ ใช้ใส่แกงเพื่อเพิ่มรสชาติกลมกล่อม(เมี่ยน)
- ทั้งต้น ต้มกินกับน้ำพริก แก้อาการท้องเสีย(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ราก ต้มน้ำดื่มร่วมกับลูกใต้ใบและหญ้าปันยอด เป็นยาแก้อาการปวดข้อ(คนเมือง)
ทั้งต้น นำไปต้มแล้วใช้ไอน้ำมารมแผลสด ช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น(คนเมือง)
ทั้งต้น ต้มน้ำรวมกับต้นสาบแร้งสาบกา (หย่าเม่น)ให้เด็กอาบแก้อาการเบื่ออาหาร(ปะหล่อง)
ทั้งต้น ต้มน้ำอาบรักษาผื่นคัน (ใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่)(ม้ง)
ทั้งต้น ต้มแล้วเอาน้ำใส่แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ใบ ใช้ขับระดูขาว แก้ไอ ลดไข้ บำรุงธาตุ แก้ปวดฟัน หลอดลมอักเสบ
ลำต้น ลดอาการเป็นหัด คอเจ็บ จุกเสียด อาเจียน แก้ไอ ลดไข้ ท้องเดิน ท้องเสีย ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา แก้ขาบวมจากการเป็นเหน็บชา ลดอาการบวมน้ำจากการปัสสาวะ
ราก ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ เป็นต้น [1]
ราก แก้โรคหัวใจอ่อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ ลำต้น บำรุงธาตุ
ลำต้นและใบ รักษาโรคเบาหวาน ใบ แก้พิษฝี แก้ไอ รักษาโรคเรื้อน แผลเรื้อรัง แผลสด
ผล แก้เหงือกบวม ทั้ง 5 แก้ไข้มาลาเรีย แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย [5]
- ตำรายา
1.เด็กที่เป็นไข้ ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 15 กรัม นำมาต้ม ใส่น้ำ ใส่น้ำตาลพอมีรสชาติ แล้วกรองเอาน้ำกิน
2. เป็นผื่นคัน ให้ใช้ลำต้นที่สดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาทาในที่ที่เป็น
3. ขาบวมเนื่องจากเป็นโรคเหน็บชา ใช้ลำต้นที่สดขนาด 30 กรัม ต้มน้ำผสมกับน้ำตาลแดงอีก 30 กรัม แล้วเอากินทุกเช้า-เย็นหลังอาหาร
4. เป็นหัด ให้ใช้ลำต้นที่สด ต้มแล้วกรองเอาน้ำกินติดต่อสัก 3 วัน
5. ลำไส้อักเสบ ปวดท้อง ปัสสาวะขัด ให้ใช้ลำต้นขนาด 15-30 กรัม ต้มให้เดือดกรองเอาน้ำกิน
6. มีอาการเจ็บคอ ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 120 กรัมตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง รับประทาน
7. ไอ ให้ใช้ลำต้นที่สด ประมาณ 30-60 กรัม ต้มน้ำให้เดือดแล้วเอาน้ำรับประทาน [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
 
  สภาพนิเวศ พบได้ทั่วไปเป็นกลุ่มบริเวณชายฝั่ง ชายน้ำ ริมบึงที่ชื้น
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง