|
วงศ์ |
Papilionaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sesbania grandiflora (L.) Desv. |
|
|
ชื่อไทย |
แคบ้าน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ดอกแก(ไทลื้อ,คนเมือง), แค(คนเมือง), ไฮ่ไม้แก้(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
แคเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 3-5 เมตร โตเร็วมีกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นสีน้ำตาล มีรอยขรุขระหนา เปลือกในมีสีชมพูรสฝาด ผิวใบเรียบ |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับ ก้านใบสีเหลือง ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวหรือสีแดงคล้ายดอกถั่ว กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักแบนยาว เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงตรงกลางแถวเดียว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ดอก ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง,เมี่ยน,ปะหล่อง)
ยอดอ่อนและดอก นึ่งกินกับน้ำพริก(ไทลื้อ)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้อง(ไทลื้อ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
มักพบขึ้นเป็นกลุ่มตามป่าละเมาะในธรรมชาติ ขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย สามารถปลูกได้ทุกที่ ชอบทั้งดินเหนียวและดินปนทราย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|