|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
พะยอม
|
พะยอม
Shorea roxburghii G.Don |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Dipterocarpaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Shorea roxburghii G.Don |
|
|
ชื่อไทย |
พะยอม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ขะยอม(คนเมือง) - กะยอม (เชียงใหม่); ขะยอม (ลาว); ขะยอมดง, พะยอมดง (เหนือ); แคน (เลย); เชียง, เชี่ยว (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่); พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี); ยางหยวก (น่าน) [6] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น, ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่, สูง 15 – 30 ม., ผลัดใบ, ลำต้นตรง, กิ่งอ่อนเกลี้ยง, เรือนยอดเป็นพุ่มกลม; เปลือกหนา, สีน้ำตาลหรือเทา, เป็นสะเก็ดหนา และแตกเป็นร่องตามยาว.
ใบ รูปขอบขนานแคบ ๆ , กว้าง 3.5 – 4 ซม., ยาว 8 – 10 ซม., โคนใบมน; ปลายมนหรือหยัก, ปลายสุดเป็นติ่งสั้น ๆ; ขอบใบมักเป็นคลื่น; เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน, มีเส้นแขนงใบ 15 – 20 คู่ และโค้งขนานไปสู่ขอบใบ; ก้านใบยาว 2 – 2.5 ซม.
ดอก สีขาว, กลิ่นหอมจัด, ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ; กลีบรองกลีบดอกเกลี้ยง, สีคล้ำ, มี 5 กลีบ, ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย; กลีบดอก 5 กลีบ, บิดเวียนกัน; เกสรผู้ 15 อัน; รังไข่มี 3 ช่อง, แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2; ก้านดอกยาว 1.5 ซม.
ผล รูปกระสวยปลายแหลม, กว้างประมาณ 1.2 ซม., ยาว 2 ซม., ปีกยาว 3 ปีก, กว้างประมาณ 1 ซม., ยาว 8 ซม., ปีกสั้น 2 ปีก, ยาวประมาณ 3 ซม., มีเส้นปีก ๆ ละ 10 เส้น. [6] |
|
|
ใบ |
ใบ รูปขอบขนานแคบ ๆ , กว้าง 3.5 – 4 ซม., ยาว 8 – 10 ซม., โคนใบมน; ปลายมนหรือหยัก, ปลายสุดเป็นติ่งสั้น ๆ; ขอบใบมักเป็นคลื่น; เนื้อใบเกลี้ยงเป็นมัน, มีเส้นแขนงใบ 15 – 20 คู่ และโค้งขนานไปสู่ขอบใบ; ก้านใบยาว 2 – 2.5 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก สีขาว, กลิ่นหอมจัด, ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ; กลีบรองกลีบดอกเกลี้ยง, สีคล้ำ, มี 5 กลีบ, ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย; กลีบดอก 5 กลีบ, บิดเวียนกัน; เกสรผู้ 15 อัน; รังไข่มี 3 ช่อง, แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2; ก้านดอกยาว 1.5 ซม.
|
|
|
ผล |
ผล รูปกระสวยปลายแหลม, กว้างประมาณ 1.2 ซม., ยาว 2 ซม., ปีกยาว 3 ปีก, กว้างประมาณ 1 ซม., ยาว 8 ซม., ปีกสั้น 2 ปีก, ยาวประมาณ 3 ซม., มีเส้นปีก ๆ ละ 10 เส้น. [6] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ดอกอ่อน นำมาต้มหรือยำก็ได้ (วิธีการเหมือนยำผักเฮียก)(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(คนเมือง)
- ต้น น้ำต้มเปลือกต้น, กินเป็นยาฝาดสมาน, แก้ท้องเดิน และลำไส้อักเสบ .
เปลือกประสมเป็นสารกันบูดในเครื่องหมักดองบางชนิดและกินกับหมากได้ .
ดอก ใช้เข้าเป็นยาหอมแก้ลม, บำรุงหัวใจ และลดไข้ [6] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|