ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Broom weed
Broom weed
Sida acuta Burm.f.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Malvaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Sida acuta Burm.f.
 
  ชื่อไทย หญ้าขัดใบยาว
 
  ชื่อท้องถิ่น - หนานช่าง(ม้ง), หญ้าขัด,หญ้าขัดใบยาว(คนเมือง), ถ้อม,ทอมทัก,แญ็นทอมถัก(ลั้วะ) - หญ้าขัดมอน หญ้าข้อ (ภาคเหนือ) นาคุ้ยหมี่ เน่าะคุ้ยเหม่ เน่าะเค้ะ หน่อคี้ยแหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยุงกวาด ยุงปัด (ภาคกลาง) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก ลำต้นตรง สูง 1-2 ม. ตามกิ่งมีขนนุ่มหรือค่อนข้างเกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนห่าง รูปใบหอก กว้าง 4-10 มม. ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม โคนใบกลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบมีขนรูปดาวประปราย หรือเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ก้าบใบยาว 4-6 มม. มีขนนุ่ม หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7-10 มม. ติดทน
ดอก สีเหลือง ออกเดี่ยว หรือคุ่ตามง่ามใบก้านดอกยาว 4-12 มม. มีขน มีข้อต่ออยู่กลางก้าน กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ยาวประมาณ 6 มม. ปลายแยก 5 แฉก ปลายแฉกเรียวแหลม ดอกบานกว้าง 8-10 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมโคนสอบแคบ ยาว 6-7 มม. มีขน เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. มีขนแข็งประปราย ก้านชูอับเรณูเรียวเล็ก อับเรณูสีเหลือง
ผล แบบผลแห้งแตก รูปค่อนข้างกลม ประกอบด้วย 4-9 ซีก ส่วนมากมี 5-6 ซีก ยาว 3.5 มม. ปลายมีหนามสั้น 2 อัน ผิวมีลาย [8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงเวียนห่าง รูปใบหอก กว้าง 4-10 มม. ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม หรือเรียวแหลม โคนใบกลมหรือมน ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบมีขนรูปดาวประปราย หรือเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ก้าบใบยาว 4-6 มม. มีขนนุ่ม หูใบรูปเส้นด้าย ยาว 7-10 มม. ติดทน
 
  ดอก ดอก สีเหลือง ออกเดี่ยว หรือคุ่ตามง่ามใบก้านดอกยาว 4-12 มม. มีขน มีข้อต่ออยู่กลางก้าน กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ยาวประมาณ 6 มม. ปลายแยก 5 แฉก ปลายแฉกเรียวแหลม ดอกบานกว้าง 8-10 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ปลายกลีบกลมโคนสอบแคบ ยาว 6-7 มม. มีขน เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 4 มม. มีขนแข็งประปราย ก้านชูอับเรณูเรียวเล็ก อับเรณูสีเหลือง
 
  ผล ผล แบบผลแห้งแตก รูปค่อนข้างกลม ประกอบด้วย 4-9 ซีก ส่วนมากมี 5-6 ซีก ยาว 3.5 มม. ปลายมีหนามสั้น 2 อัน ผิวมีลาย [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น ต้มในน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาอมบรรเทาอาการปวดฟัน(ม้ง)
ราก แช่น้ำดื่มร่วมกับหญ้าปากควาย ตะไคร้ เปลือกมะกอก แก้อาการอ่อนเพลีย ทั้งต้น เอาไปต้มหรือแช่น้ำดื่มเป็นยาแก้เบื่อ และแก้ไข้(คนเมือง)
ราก ต้มน้ำดื่ม แก้อาการปัสสาวะไม่ออก(คนเมือง)
- กิ่งและลำต้น ตากแห้งแล้วมัดรวมกันใช้เป็นไม้กวาด(ม้ง,ลั้วะ,คนเมือง)
- ราก เข้ายาฆ่าเชื้อ ลดอาการอักเสบ แก้ไข้ แก้โรคกระเพาะอาหาร เป็นยาสมาน ขับเหงื่อ แก้โรคประสาท แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง และผสมกับขิงรับประมาณครั้งละ 1 ช้อนชา วันละสองครั้ง แก้อ่อนเพลีย ใบ ทำให้อุ่น ทาด้วยน้ำมันงาใช้แปะบริเวณที่เป็นหนอง เป็นยาทำให้แท้ง ตำคั้นน้ำ ทา หรือพอกสิว ฝี ตุ่มหนอง [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตามพื้นที่รกร้าง ข้างถนน และชายป่า ชอบพื้นที่ชุ่มชื้น ทนต่อน้ำขัง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง