|
วงศ์ |
Malvaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sida rhombifolia L. |
|
|
ชื่อไทย |
หญ้าขัด, หญ้าขัดใบมน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
"- ทอมทัก(ลั้วะ), หญ้าขัด(ขมุ) - หญ้าขัด (เชียงใหม่) ขัดมอน คัดมอน (ภาคกลาง) ยุงปัดแม่ม่าย (กรุงเทพฯ) [8]" |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1ม. ลำต้นกลม สีเขียว เขียวอมม่วง หรืออมเทา มีขนรูปดาว
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนห่างๆ รูปรีถึงรูปสี่เหลื่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. โคนใบกลมถึงตัด ขอบใบจิกฟันเลื่อย ยกเว้นบริเวณโคบใบเรียบ ผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นรูปดาวหนาแน่น ก้านใบยาว 5-6 มม. มีขนหนาแน่น หูใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาวได้ถึง 5 มม. มีเส้นตามยาว 1 เส้น ตามขอบมีขน
ดอก สีเหลืองอ่อน หรือสีเนื้อค่อนข้างขาว ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ใบที่ยอดมักจะลดรูปลง ทำให้ดูคล้ายเป็นช่อแบบช่อกระจะ ก้านดอกยาว 0.5-1 ซม. มีข้อต่อเหนือกึ่งกลางก้าน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูประฆัง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม. โคนมีสัน 10 สัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ปลายแฉกแหลม หรือเรียวแหลม ด้านนอกมีขนสั้นรูปดาวคละกับขนธรรมดา ด้านในเกลี้ยง วงกลีบดอกเวลาบานกว้างประมาณ 1 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือค่อนข้างยาว ตรงกลางสีแดง รูปไข่กลับ เบี้ยว กว้าง 6-7 มม. ยาว 9-10 มม. ปลายกลีบตัด หรือแหลม โคนกลีบสอบอาจมีขนหรือเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 5 มม. มีอับเรณูที่ปลาย เกสรเพศเมียอยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกรวย กว้างประมาณ 1.5 มม. เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย ปลายแยกเป็น 8-10 แขนง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มสีเหลือง หรือชมพูอ่อน
ผล แบบผลแห้งแยกแล้วแตก รูปครึ่งทรงกลลม มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ประกอบด้วยซีกผล 8-10 ซีก แต่ละซีกเป็นรูป 3 มุม กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 4 มม. ด้านนอกและด้านข้างมีรอยย่น ที่ปลายมีรยางค์แข็ง ยาว 1-1.5 มม. ยาวเสมอกลีบเลี้ยงหรือสั้นกว่าเล็กน้อย แต่ละซีกมี 1 เมล็ด เมล็ด ยาวประมาณ 2 มม. สีดำ มีขนสั้นๆ ที่ขั้วเมล็ด [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนห่างๆ รูปรีถึงรูปสี่เหลื่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. โคนใบกลมถึงตัด ขอบใบจิกฟันเลื่อย ยกเว้นบริเวณโคบใบเรียบ ผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นรูปดาวหนาแน่น ก้านใบยาว 5-6 มม. มีขนหนาแน่น หูใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ ยาวได้ถึง 5 มม. มีเส้นตามยาว 1 เส้น ตามขอบมีขน
|
|
|
ดอก |
ดอก สีเหลืองอ่อน หรือสีเนื้อค่อนข้างขาว ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ใบที่ยอดมักจะลดรูปลง ทำให้ดูคล้ายเป็นช่อแบบช่อกระจะ ก้านดอกยาว 0.5-1 ซม. มีข้อต่อเหนือกึ่งกลางก้าน กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูประฆัง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม. โคนมีสัน 10 สัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ปลายแฉกแหลม หรือเรียวแหลม ด้านนอกมีขนสั้นรูปดาวคละกับขนธรรมดา ด้านในเกลี้ยง วงกลีบดอกเวลาบานกว้างประมาณ 1 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือค่อนข้างยาว ตรงกลางสีแดง รูปไข่กลับ เบี้ยว กว้าง 6-7 มม. ยาว 9-10 มม. ปลายกลีบตัด หรือแหลม โคนกลีบสอบอาจมีขนหรือเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 5 มม. มีอับเรณูที่ปลาย เกสรเพศเมียอยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกรวย กว้างประมาณ 1.5 มม. เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมีย ปลายแยกเป็น 8-10 แขนง ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่มสีเหลือง หรือชมพูอ่อน
|
|
|
ผล |
ผล แบบผลแห้งแยกแล้วแตก รูปครึ่งทรงกลลม มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ประกอบด้วยซีกผล 8-10 ซีก แต่ละซีกเป็นรูป 3 มุม กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 4 มม. ด้านนอกและด้านข้างมีรอยย่น ที่ปลายมีรยางค์แข็ง ยาว 1-1.5 มม. ยาวเสมอกลีบเลี้ยงหรือสั้นกว่าเล็กน้อย แต่ละซีกมี 1 เมล็ด เมล็ด ยาวประมาณ 2 มม. สีดำ มีขนสั้นๆ ที่ขั้วเมล็ด [8] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ราก ใช้ร่วมกับรากหญ้าปากควาย และรากมะกอก แช่น้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร(ขมุ)
- ลำต้น ใช้ทำไม้กวาด(ลั้วะ)
- ราก แก้โรคไขข้อ แก้โรคกระเพาะอาหาร ดีพิการ ขับเสมหะ แก้โรคปอด แก้ปวดมดลูก ขับเลือดและรก แก้ไข้ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
ลำต้น ให้สารเมือก ใช้สำหรับทำให้นิ่ม ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน
ใบ ตำพอกแก้บวม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข้
ต้น ใบ ต้มใส่เกลือ เป็นยาบ้วนปาก
ใบและต้นอ่อน ตำคั้นน้ำ ผสมกับน้ำผึ้งกินแก้บิด
ราก ลำต้น น้ำต้มมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของคนในหลอดทดลอง[8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|