|
วงศ์ |
Smilacaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Smilax ovalifolia Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
เถาวัลย์ยั้ง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เจียมย่างกอง(เมี่ยน), เครือเดา(ขมุ,คนเมือง), ด่องบร้าย(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาขนาดเล็ก เถากลม มีมือเกาะพันตามต้นไม้อื่นได้ 3–4 เมตร มักมีหนามรอบเถา เถาสีน้ำตาล ยอดอ่อนสีน้ำตาล |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน แผ่นใบหนา ผิวใบเกลี้ยง ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงออกจากโคนใบไปจรดปลายใบ 3 เส้น |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม ตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก สีเหลืองอ่อน |
|
|
ผล |
ผลกลุ่ม ออกเป็นช่อกลม รูปไข่ สีเขียว หนึ่งผลมี 1 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ประกอบอาหารโดยการผัดผลสุก รับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย(เมี่ยนมคนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย(ปะหล่อง)
- หัวใต้ดิน ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ(ขมุ)
ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลังทำให้เจริญอาหาร(เมี่ยน)
หัวใต้ดิน ตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มร่วมกับแก่นฝาง เป็นยา บำรุงกำลังหรือนำมาต้มเป็นยาห่มให้สตรีหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|