|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ข่า
|
ข่า
Alpinia galanga (L.) Willd. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Zingiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Alpinia galanga (L.) Willd. |
|
|
ชื่อไทย |
ข่า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- เซี่ยงง่าว(ปะหล่อง), ซั้ลร(ขมุ), กะแช๊ล(ลั้วะ), ข่า(คนเมือง), เส่เอเค(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กะเอ้เช่(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ฉี่ออขู่(กะเหรี่ยงแดง), หัวข่า(ไทใหญ่), โบ้วซุง(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
- เป็นพรรณไม้ลงหัวจำพวก กะวาน เร่ว กะลา จะลงหัวใหญ่ขาวอวบอ้วน เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ลุ่ม
ใบ จะมีลักษณะรูปไข่ยาว จะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้นบนดิน ซึ่งจะเป็นกาบของใบหุ้มลำต้น ใบคล้ายพาย ดอกเป็นช่อสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
ดอก : จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด และดอกข่านั้นก็จะจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้น จะบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน
ผล มีลักษณะกลมโต และมีขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน จะมีรสขม เผ็ดร้อน[1] |
|
|
ใบ |
ใบ จะมีลักษณะรูปไข่ยาว จะออกสลับกันรอบ ๆ ลำต้นบนดิน ซึ่งจะเป็นกาบของใบหุ้มลำต้น ใบคล้ายพาย ดอกเป็นช่อสีขาว แต้มด้วยสีแดงเล็กน้อย
|
|
|
ดอก |
ดอก : จะออกเป็นช่อตรงปลายยอด และดอกข่านั้นก็จะจัดอยู่ด้วยกันอยู่อย่างหลวม ๆ ช่อที่ยังอ่อนจะมีกาบสีเขียวอมเหลืองหุ้มมิด (spathe) ส่วนดอกสีขาวอมสีม่วงแดงนั้น จะบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน
|
|
|
ผล |
ผล มีลักษณะกลมโต และมีขนาดเท่าเม็ดบัว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเม็ดเล็ก ๆ อยู่ภายใน จะมีรสขม เผ็ดร้อน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ช่อดอก ลวกหรือกินสดกับน้ำพริก, ลำต้นใต้ดิน ใส่แกง(ไทใหญ่)
เหง้า ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารต่างๆ เช่น น้ำพริก แกง ยำ, ช่อดอกอ่อน รับประทานสดหรือนำไปย่างไฟ อ่อนๆ กินกับน้ำพริก(คนเมือง,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
เหง้า นำไปใส่แกงและน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
เหง้า เป็นเครื่องเทศ นำไปเป็นส่วนประกอบอาหารต่างๆ(ลั้วะ,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ดอก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใช้ใส่แกงแค, หัวใต้ดิน เป็นเครื่องเทศสำหรับอาหารประเภทต่างๆ(ขมุ)
เหง้า ใช้ประกอบอาหารเช่น ใส่แกง ลาบ, ดอก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ช่อดอก รับประทานเป็นเครื่องเคียงกับแกงอ่อมหรือ อาหารคาวต่างๆ(เมี่ยน)
- เหง้า ตำผสมใบพลับพลึงและตะไคร้ พอกบริเวณปวดที่กระดูก(ปะหล่อง)
ลำต้นใต้ดิน มีสรรพคุณช่วยขับลมในท้อง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ(คนเมือง)
- เหง้าแก่ นำมาตำให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ใช้เป็นยารักษาภายนอก หรือจะตำใช้ทำกระสายเป็นเหล้าโรง ทารักษาอาการคันในโรคลมพิษ ทาบ่อย ๆ จนกว่าลมพิษนั้นจะหายไป
เหง้าแก่สดหรือแห้ง ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ให้ใช้ประมาณเท่าหัวแม่มือ ใช้สดประมาณ 5 กรัม และแห้งประมาณ 2 กรัม นำมาทุบให้แตกแล้วต้มเอาน้ำดื่ม
เหง้าสด ใช้รักษาเกลื้อน นำเหง้าสดมาฝนผสมกับเหล้าโรงหรือน้ำส้มสายชู หรือตำแล้วนำมาแช่แอลกอฮอล์ ใช้ทาที่เป็น
อื่น ๆ : นอกจากจะใช้ประโยชน์ทางยาแล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหาร เพื่อช่วยดับรสคาว หรือจะใช้เหง้าข่าแก่ป่นให้ละเอียดนำมาคั่วให้เหลืองใส่ข้ามต้มปลา เป็นเครื่องเทศเอามาผสมในเครื่องปรุงน้ำพริกแกงได้[1]
- เหง้าแก่สดหรือแห้ง เหง้าอ่อน แต่กลิ่นรสอาหาร เป็นเครื่องเทศ และยา [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|