|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ฮ่อสะพายควาย
|
ฮ่อสะพายควาย
Sphenodesme pentandra Jack |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Verbenaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sphenodesme pentandra Jack |
|
|
ชื่อไทย |
ฮ่อสะพายควาย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฮ่อสะพายควาย(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เถา พาดพันต้นไม้ใหญ่ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน รูปหอกปลายเรียวเล็กน้อยและแหลม โคนแหลม เส้นใบย่อยออกตรงข้ามกันห่างๆ ปลายวกเข้า เหมือนรูปปอดซ้อนกัน ผิวและขอบใบเรียบ ค่อนข้างหนา เกิดตามป่าดงดิบเขาสูง อากาศเย็น
(ในชุมชนโป่งคำมี 2 ชนิด คือ ฮ้อสะพายควายแดง เถามีขนาดใหญ่ ใบไม่มีขน มักมี 3 ใบย่อย และฮ้อสะพายควายขาว เถามีขนาดเล็กกว่า ใบมีขน มักมี 7 ใบย่อย) |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น ตากแห้งฝานเป็นแว่นผสมกับเปลือกลำต้นนางพญา เสือโคร่ง ลำต้นม้ากระทืบโรง จะค่าน ตานเหลือง มะตัน ขอ ข้าวหลามดง หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูกและ โด่ไม่รู้ล้ม ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย (คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบบริเวณป่าดิบริมน้ำในประเทศไทย อินเดีย พม่า และมาเลเซีย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|