|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Hog plum
|
Hog plum
Spondias pinnata (L.f.) Kurz |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Anacardiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Spondias pinnata (L.f.) Kurz |
|
|
ชื่อไทย |
มะกอก, มะกอกไทย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลำปูนล(ลั้วะ), แผละค้อก(ลั้วะ), มะกอก(คนเมือง), เพี๊ยะค๊อก,โค่ยพล่าละ(ลั้วะ), มะกอกป่า(เมี่ยน), มะกอกไทย(ไทลื้อ), ตุ๊ดกุ๊ก(ขมุ), ไฮ่บิ้ง(ปะหล่อง), สือก้วยโหยว(ม้ง), ตะผร่าเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะกอกเป็นไม้ต้น ผลัดใบสูง 15-25 เมตร เปลือกต้นสีเทา ค่อนข้างเรียบ กิ่งก้านมีช่องอากาศ กระจัดกระจาย |
|
|
ใบ |
ใบประกอบ แบบขนนก ปลายใบคี่ เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานหรือรูปรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอกช่อแยกแขนงออกที่ปลายกิ่ง และซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวครีม มีจำนวนมาก |
|
|
ผล |
ผลสด รูปไข่ มีเนื้อฉ่ำน้ำ สีเหลืองอมเขียว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง)
ผลสุก รับประทานเล่นแก้กระหายน้ำหรือใช้ประกอบ อาหาร เช่น น้ำพริกหรือใส่ส้มตำ เป็นต้น(คนเมือง)
ผลสุก รับประทานได้หรือใส่น้ำพริก, ยอดอ่อน รับประทานได้(ขมุ)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับน้ำพริก ผล ใช่ใส่ตำน้ำพริกหรือ ส้มตำ(ม้ง)
ผล นำไปตำน้ำพริก(ลั้วะ)
เปลือกต้น ขูดเป็นฝอยแล้วใช้ใส่ลาบ, ยอดอ่อน กินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ(ไทลื้อ)
ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ ผลสุก ใส่น้ำพริก(เมี่ยน)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|