ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา สบู่เลือด
สบู่เลือด
Stephania pierrei Diels
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Menispermaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Stephania pierrei Diels
 
  ชื่อไทย สบู่เลือด
 
  ชื่อท้องถิ่น - พุ่งเหมาด้อย(เมี่ยน) - บัวกือ (เชียงใหม่ เพชรบุรณ์) บัวเครือ (เพชรบูรณ์) บัวนก (กาญจนบุรี นครราชสีมา) เปล้าเลือดเครือ (ภาคเหนือ) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงถึง 30 ม. ตั้งตรง เกิดจากหัวใต้ดิน มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 8 ซม.หรืออาจจะมากกว่านั้น ขนเกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ ส่วนมากแล้วรูปค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว (2-)3-6 ซม. บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็งเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ เส้นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบยาวประมาณ 1 ซม. ก้านช่อดอกเล็กเรียว ยาว 7-8 มม. แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ มีก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 หรือ 5 กลีบ สีเหลือง เนื้อกลีบนุ่ม มักจะมีขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กลับ ยาว 1-2 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ไม่มีก้าน หรือติดบนก้าน ยาว 0.5 มม.
ผล สด แบบมีเมล็ดเดียวแข็ง รูปค่อนข้างกลม หรือค่อนข้างรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 7-8 มม. ผนังผลชั้นในมีรูเล็กๆ ตรงกลาง ด้านบนมีตุ่มเรียงเป็น 4 แถว โค้ง มีทั้งหมด 16-19 ตุ่ม[8]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ ส่วนมากแล้วรูปค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว (2-)3-6 ซม. บางครั้งมีติ่งหนามที่ปลาย เนื้อใบบางคล้ายกระดาษแต่แข็งเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ เส้นร่างแหค่อนข้างทั้งสองด้าน
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบยาวประมาณ 1 ซม. ก้านช่อดอกเล็กเรียว ยาว 7-8 มม. แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ มีก้านดอกยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 หรือ 5 กลีบ สีเหลือง เนื้อกลีบนุ่ม มักจะมีขนาดไม่เท่ากัน รูปไข่กลับ ยาว 1-2 มม. ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ไม่มีก้าน หรือติดบนก้าน ยาว 0.5 มม.
 
  ผล ผล สด แบบมีเมล็ดเดียวแข็ง รูปค่อนข้างกลม หรือค่อนข้างรูปไข่กลับ เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 7-8 มม. ผนังผลชั้นในมีรูเล็กๆ ตรงกลาง ด้านบนมีตุ่มเรียงเป็น 4 แถว โค้ง มีทั้งหมด 16-19 ตุ่ม[8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เครือ ต้มใส่ไก่ร่วมกับแจะออเมีย(ว่านมหากาฬ)รับประทานเป็นยาบำรุงเลือด(เมี่ยน)
- หัวใต้ดิน ตากแห้ง ทำเป็นผง ผสมน้ำผึ้งทำเป็นลูกกลอน เป็นยาอายุวัฒนะ กินทำให้เจริญอาหารและแข็งแรง ลำต้น ขับลมแน่นหน้าอก
ใบ บำรุงธาตุ ดอก ฆ่าเชื้อ โรคเรื้อน[8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง