|
วงศ์ |
Malvaceae (Sterculiaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Sterculia monosperma Vent. |
|
|
ชื่อไทย |
เกาลัด, เกาลัดเมือง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
บ่ากอลัด(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เกาลัดเมืองเป็นไม้ต้น สูง 4-30 เมตร เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กตามยาว |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 5-15 ซม. ยาว 10-30 ซม.โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบหนา มัน และเรียบหรือย่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 2-10 ซม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอกแยกแขนง ออกแขนงจำนวนมาก ตามปลายกิ่ง ยาวได้ถึง 35 ซม. ดอกย่อยเล็ก สีชมพูอมเขียว กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายผายออกเป็นรูปกรวย แยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกโค้งงุ้มและติดกันบริเวณปลายกลีบ ไม่มีกลีบดอก |
|
|
ผล |
ผลแห้งแล้วแตก รูปกระสวย เปลือกผลหนา เมื่อแก่จะปริแยกออกจากกัน เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแกมแดง เนื้อในสีขาว กินได้ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด นำไปต้มรับประทาน(คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
เป็นไม้เขตร้อน มีผู้นำเข้ามาปลูกจากประเทศจีน ประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคกลาง แต่พบมากในจังหวัดน่าน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|