|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Streblus asper Lour. |
|
|
ชื่อไทย |
ข่อย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ข่อย(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง
ใบ จะเล็กหนาแข็ง ถ้าจับดูทั้ง 2 ด้านจะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบจะหยักแบบซี่ฟัน
ดอก ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก แบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านดอกจะยาว และมักจะออกเป็นคู่สีเขียว เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะอยู่ต่างดอกกัน
ผล เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำ ส่วนเมล็ดนั้นมีลักษณะเกือบกลมคล้ายเม็ดพริกไท[1] |
|
|
ใบ |
ใบ จะเล็กหนาแข็ง ถ้าจับดูทั้ง 2 ด้านจะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบจะหยักแบบซี่ฟัน
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก แบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านดอกจะยาว และมักจะออกเป็นคู่สีเขียว เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะอยู่ต่างดอกกัน
|
|
|
ผล |
ผล เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำ ส่วนเมล็ดนั้นมีลักษณะเกือบกลมคล้ายเม็ดพริกไท[1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ลำต้น ก้านใบ แช่น้ำเกลืออมแก้อาการปวดฟัน เหงือกบวม ดับกลิ่นปาก(คนเมือง)
- เมล็ด ใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุรักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใบ จะมีลักษณะสากใช้ขัดเครื่องครัว ใช้ถูเมือกปลาไหล นอกจากนี้ใบยังนำมาคั่วชงน้ำดื่มก่อนที่จะมีประจำเดือนสำหรับสตรีที่มีอาการปวดท้องขณะที่ประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดได้ หรือใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำชาได้
เปลือก มีรสเมาเบื่อ ดับพิษในกระดูกและในเส้น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมัน ริดสีดวง หรือใช้ต้มใส่เกลือให้เค็มเป็นยาอม รักษารำมะนาด นอกจากนี้เปลือกข่อยทำกระดาษและทราบว่าปลวกจะไม่กินกระดาษข่อย ใช้มวนสูบรักษาริดสีดวงจมูก [1]
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|