|
วงศ์ |
Dioscoreaceae (Taccaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tacca chantrieri Andre |
|
|
ชื่อไทย |
เนระพูสีไทย, ค้างคาวดำ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ดีงูหล้า(คนเมือง), เส่แหง่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ล่อเคลิน(ลั้วะ), เหนียบเลิน(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ดีงูหว้าเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดินรูปทรงกระบอก |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวเรียงสลับ เวียนออกเป็นรัศมี รูปวงรี รูปขอบขนาน ถึงรูปใบหอก ก้านใบแผ่เป็นกาบ |
|
|
ดอก |
ดอกช่อซี่ร่ม มีดอกย่อย 4-6 ดอก กลีบดอกสีม่วงแกมเขียวถึงสีม่วงดำ ใบประดับ 2 คู่ สีเขียวถึงสีม่วงดำ เรียงตั้งฉากกัน |
|
|
ผล |
ผลสดรูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม มีสันเป็นคลื่นตามยาว เมล็ดรูปไต มีรากอากาศ พุ่งขึ้นจากดินถึงลำต้น |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
"- ใบอ่อน ย่างไฟอ่อนหรือลวก กินกับลาบ(คนเมือง)
ใบ รับประทานจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ดอก รับประทานกับน้ำพริก(ขมุ)
ใบ รับประทานสดกับลาบ มีรสหวานขม(ปะหล่อง)
- ราก ต้มดื่มน้ำแก้อาการปวดหลังปวดเอว(คนเมือง)
ราก ดองเหล้าหรือกินใบสดแก้อาการเจ็บหลังเจ็บเอว บำรุงกำลัง และช่วยเจริญอาหาร(กะเหรี่ยงแดง)
ราก ต้มน้ำรวมกับหญ้าถอดปล้อง ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(ขมุ)
- ดอกและยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกได้ (มีความเชื่อว่า เด็กคลอดใหม่ ห้ามเข้าใกล้ เพราะไม่ดีต่อพ่อแม่เกิด)(ลั้วะ)"
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย ในป่าดงดิบชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,500 เมตร ตามผืนป่าที่ได้รับความชื้นตลอดปี และมักเจอเป็นดงในเขตที่มีร่มเงาจากไม้ใหญ่ ใกล้แหล่งนํ้า |
|
|
เอกสารประกอบ |
|