|
วงศ์ |
Leguminosae (Caesalpiniaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tamarindus indica L. |
|
|
ชื่อไทย |
มะขาม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- กั๋วหมี (ม้ง), มะขาม(ไทลื้อ) - ตะลูบ (นครราชศรีมา), ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดแล, ส่ามอเกล (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หมากแกง (แม่ฮ่องสอน), อำเบียล (สุรินทร์), Sampalok (ฟิลิปปินส์) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ต้น สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นขรุขระ เปลือกต้นสีเทาเกือบดำ แตกกิ่งก้านมากมาย
ใบ ประกอบมีใบย่อย 10-15 คู่เรียงแบบขนนกเรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-1.5 ซม. โคนใบและปลายใบมน
ดอก เป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง มีลายม่วงแดง ดอกออกที่ปลายกิ่ง
ผล เป็นฝักสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา รูปฝักเมื่อยังอ่อนจะแบนยาว เมื่อฝักค่อนข้างยาว เนื้อแข็งฉ่ำน้ำ เป็นสีขาวนวลอมเขียว และเปลือกจะติดแน่นกับเนื้อ ฝักเมื่อแก่จัดมากๆ เนื้อในฝักจะฝ่อไม่ติดกับเปลือก เนื้อจะนิ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเรียกว่ามะขามเปียกมีทั้งรสหวานและเปรี้ยว ช่วงนี้เปลือกฝักจะเปราะและแตกง่าย ขนาดฝักเมื่อโตเต็มที่กว้าง [3] |
|
|
ใบ |
ใบ ประกอบมีใบย่อย 10-15 คู่เรียงแบบขนนกเรียงสลับใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-1.5 ซม. โคนใบและปลายใบมน
|
|
|
ดอก |
ดอก เป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง มีลายม่วงแดง ดอกออกที่ปลายกิ่ง
|
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา รูปฝักเมื่อยังอ่อนจะแบนยาว เมื่อฝักค่อนข้างยาว เนื้อแข็งฉ่ำน้ำ เป็นสีขาวนวลอมเขียว และเปลือกจะติดแน่นกับเนื้อ ฝักเมื่อแก่จัดมากๆ เนื้อในฝักจะฝ่อไม่ติดกับเปลือก เนื้อจะนิ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเรียกว่ามะขามเปียกมีทั้งรสหวานและเปรี้ยว ช่วงนี้เปลือกฝักจะเปราะและแตกง่าย ขนาดฝักเมื่อโตเต็มที่กว้าง [3] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ฝักอ่อนและแก่ รับประทานได้(ม้ง)
- ใบ ตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- เปลือกต้น ตากให้แห้งสับให้ละเอียดผสมในไส้บุหรี่ ลด ความขื่นของยาสูบ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- สรรพคุณความเชื่อ
ถ่ายพยาธิ ลดความดัน ท้องผูก แก้หวัด ท้องเดิน เริมและงูสวัด ไอเสมหะ แก้ร้อนใน ลดอาการแพ้ อักเสบบวม แมลงสัตว์กัดต่อย ขับน้ำนม รักษาเหา ปรับสภาพผิวให้สมดุล
ถ่ายพยาธิ เมล็ดแก่มาคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือก เอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เมล็ด ถ่ายพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นได้
ลดความดัน ดอกสดไม่จำกัด แกงส้ม หรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน
ท้องผูก เนื้อมะขามเปรี้ยวในฝักที่แก่จัด 10-20 ฝัก (70-80 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน หรือดื่มน้ำตามมากๆ หรือคั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
แก้หวัด ต้มน้ำให้เดือด ทุบหัวหอมแดงประมาณ 7-8 หัว ใบมะขามอ่อนและแก่ลงไป สูดดมควันไอร้อนพอทนได้ สูดเข้าสูดออกประมาณ 5 นาที เอาหัวหอมกับใบมะขามอุ่นๆ โกรกศรีษะ
ท้องเสีย รากมะขาม 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอประมาณ จนเดือดแล้วดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ จะบรรเทาอาการ หรือเปลือกต้น 1-2 กำมือ ต้มกับสารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์กรองดื่ม
เริ่มและงูสวัด เปลือกต้นฝนฝาละมีหม้อดินกับน้ำทาแผล
ทำความสะอาดแผล เปลือกต้นและเมล็ดต้มกับน้ำ ทำความสะอาดแผลและช่วยปรับสภาพผิวให้สมดุล
ไอเสมหะ เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร ทำเครื่องดื่ม มะขามเปียก 1/3 ถ้วย เติมเกลือป่นตามชอบ จิบบ่อยๆแก้ไอขับเสมหะ [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นได้กับดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและดินเหนียว ทนแล้งได้ดี พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป |
|
|
เอกสารประกอบ |
|