ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา รกฟ้า
รกฟ้า
Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC. (Syn. Terminalia alata Heyne ex Roth)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Combretaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pentaptera tomentosa Roxb. ex DC. (Syn. Terminalia alata Heyne ex Roth)
 
  ชื่อไทย รกฟ้า
 
  ชื่อท้องถิ่น ไฮ่หุ้นกร่ะ. เคาะหนังควาย(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น ซึ่งแน่นทึบ เปลือกของลำต้น จะเป็นสีเทาค่อนข้างดำ และแตกเป็นสะเก็ด ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 10 – 30 เมตร
ใบ จะเป็นสีเขียว เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาล ปกคลุมประปราย แต่เมื่อแก่ขนนี้ก็จะหลุดร่วงไปเอง ลักษณะของใบจะเป็นรูปมนรี ตรงปลายใบและโคนใบจะมน ตรงปลายจะเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ๆ ใบจะมีความกว้างประมาณ 3 – 5 นิ้ว และยาว 5 – 12 นิ้ว
ดอก เวลาที่รกฟ้าจะออกดอกนั้นจะต้องผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น ดอกของพรรณไม้นี้จะออกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 – 4 มม.
ผล จะเป็นแบบผลแห้ง แข็ง มีความกว้างประมาณ 2.5 – 5 ซม. และยาวประมาณ 0.3 – 0.4 ซม. จะมีปีกหนาและเป็นมันกว้างกว่าผลประมาณ 5 ซม. จะมีเส้นปีกลากจากแกนกลางไปยังขอบปีกในแนวราบ เป็นจำนวนมาก ภายในผลจะมีอยู่ 1 เม็ด[1]
 
  ใบ ใบ จะเป็นสีเขียว เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาล ปกคลุมประปราย แต่เมื่อแก่ขนนี้ก็จะหลุดร่วงไปเอง ลักษณะของใบจะเป็นรูปมนรี ตรงปลายใบและโคนใบจะมน ตรงปลายจะเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ๆ ใบจะมีความกว้างประมาณ 3 – 5 นิ้ว และยาว 5 – 12 นิ้ว
 
  ดอก ดอก เวลาที่รกฟ้าจะออกดอกนั้นจะต้องผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น ดอกของพรรณไม้นี้จะออกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 – 4 มม.
 
  ผล ผล จะเป็นแบบผลแห้ง แข็ง มีความกว้างประมาณ 2.5 – 5 ซม. และยาวประมาณ 0.3 – 0.4 ซม. จะมีปีกหนาและเป็นมันกว้างกว่าผลประมาณ 5 ซม. จะมีเส้นปีกลากจากแกนกลางไปยังขอบปีกในแนวราบ เป็นจำนวนมาก ภายในผลจะมีอยู่ 1 เม็ด[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลเข้ม(ปะหล่อง)
- ราก ใช้ขับเสมหะ
เปลือก นำไปต้มน้ำกินรักษาอาการท้องร่วง อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง