|
วงศ์ |
Combretaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
สมอพิเภก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- แหน(คนเมือง), แหนต้น(ลั้วะ) - สมอแหน(กลาง), ซิปะดู้(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แหนต้นแหน, แหนขาว(เหนือ), สะคู้(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) [1] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ผลัดใบ มีตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งมีความสูงประมาณ 20-35 เมตร ผิวเปลือกของต้นแตกเป็นร่องเล็กๆ รอยถากมีสีเหลือง เปลือกของมันมีสีเทาอมน้ำตาลหรือสีดำๆ ด่างๆ บริเวณกิ่งอ่อนของมันจะมีขนติดอยู่ประปราย
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนและเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบเข้าหากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 นิ้วยาว 5-7.5 นิ้ว หลังใบสีเขียวเข้มและจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลอ่อน ใต้ท้องใบมีสีเทาจางๆ มีขนอ่อนๆ เมื่อใบแก่ขนทั้ง2ข้างก็จะหลุดออกไป
ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบๆดอกแต่ละกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ภายในดอกจะมีเกสรอยู่ 10 อันแบ่งออกเป็น 2 แถว
ผล ลักษณะของผลเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ [1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนและเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบเข้าหากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6 นิ้วยาว 5-7.5 นิ้ว หลังใบสีเขียวเข้มและจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลอ่อน ใต้ท้องใบมีสีเทาจางๆ มีขนอ่อนๆ เมื่อใบแก่ขนทั้ง2ข้างก็จะหลุดออกไป
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ปลายช่อดอกจะห้อยลงดิน ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมี 5 กลีบๆดอกแต่ละกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ภายในดอกจะมีเกสรอยู่ 10 อันแบ่งออกเป็น 2 แถว
|
|
|
ผล |
ผล ลักษณะของผลเป็นรูปแบบผลมะละกอ ตรงกลางค่อนข้างจะป่อง มีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 ซม. ยาว 2.5-3 ซม. มีอยู่ 5 เหลี่ยม ผิวนอกเป็นขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาทึบ [1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด นำมาทุบกินเนื้อข้างใน(ลั้วะ)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
- เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ให้สีเหลือง(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
- ผล จะต้องเป็นผลที่โตเต็มที่ หรือแก่จนใช้การได้แล้ว จะใช้เป็นยาระบายได้ดี
เปลือกผล ใช้เป็นยาแก้ท้องเดิน [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายทั่วไปในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคกลาง ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100-400 เมตร ภาคใต้พบบริเวณที่ราบในป่าดงดิบ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|