|
วงศ์ |
Combretaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Terminalia chebula Retz. var.nana Gagnep. |
|
|
ชื่อไทย |
สมอนั่ง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะนะ(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20- 30 เมตร และกว้าง 1.5 – 12 ฟุต
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแปลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ และพื้นใบเป็นสีเขียว ใบยาวประมาณ 2.5 – 6 นิ้ว มีก้านใบยาว
ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ขนาดของดอกนั้นจะเล็ก ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่จำนวนมาก สีนวลมีกลิ่นหอม
ผล เป็นลูกกลม ๆ คล้ายรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8 นิ้ว สีเขียวอมเหลือง หรือบางทีก็มีสีแดงปน ภายในผลมีเมล็ดแข็งและมีอยู่เมล็ดเดียว[1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแปลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ และพื้นใบเป็นสีเขียว ใบยาวประมาณ 2.5 – 6 นิ้ว มีก้านใบยาว
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ขนาดของดอกนั้นจะเล็ก ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่จำนวนมาก สีนวลมีกลิ่นหอม
|
|
|
ผล |
ผล เป็นลูกกลม ๆ คล้ายรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8 นิ้ว สีเขียวอมเหลือง หรือบางทีก็มีสีแดงปน ภายในผลมีเมล็ดแข็งและมีอยู่เมล็ดเดียว[1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล ดองกินเล่นช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ผลแก่ เป็นยาฝาดสมาน แก้อาการท้องเดิน(คนเมือง)
- ทั้งต้น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการเสียวคอและเสียวหน้าอก แก้ท้องผูก ใช้เป็นยาสมาน
ดอก เป็นยารักษาโรคบิด
ผล ใช้ทาภายนอกบดให้ละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ถ้าเป็นผลอ่อนเป็นยาระบาย และผลแก่จะมีรสฝาด ซึ่งมีสารพวก tannin เป็นยาสมาน ยาระบายรู้จักปิด แก้ลมจุกเสียด เป็นยาเจริญอาหาร หรือยาบำรุง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย
เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ[1]
- ตำรับยา : เป็นยาระบาย โดยการนำเอาผลมาประมาณ 5 – 7 ผลแล้วใช้เนื้อในของผลต้มกับน้ำ 1 แก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี่ยวให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วทาน ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงก็จะถ่ายออกมา[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|