|
วงศ์ |
Combretaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Terminalia nigrovenulosa Pierre (Syn. Terminalia triptera Stapf) |
|
|
ชื่อไทย |
ขี้อ้าย, ปู่เจ้า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ปู่เจ้า(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 3 – 10 เมตร ส่วนที่โคนต้นมีพูพอนขนาดเล็ก มักจะมีกิ่งย่อยรอบ ๆ ลำต้นทางด้านล่าง และจะร่วงโรยไปเมื่อแก่ เปลือกจะเรียบ มีสีน้ำตาล และจะมีรอยแตกตามความยาวตื้น
ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว และเรียงสลับกัน หรือตรงกันข้ามกัน จะเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 3 – 6 ซม. ยาวประมาณ 6 – 10 ซม. ขนเกลี้ยง เนื้อใบบางคล้ายกระดาษและปลายใบของมันจะแหลม โคนใบจะสอบและแคบ หรือกลม จะมีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่ขอบใบใกล้ ๆ โคนใบ ก้านจะเล็กเรียวและยาวประมาณ 0.5 – 1.2 ซม.
ดอก จะออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกนั้นจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน ด้านล่างจะเป็นท่อยาวประมาณ 0.8 มม. ด้านบนจะแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ตรงปลายจะแยกเป็นกลีบรูปไข่มี 4 – 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก
เกสร : เกสรตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน และจะมีก้านเกสรตัวผู้ยาวราว ๆ 3 มม. ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 1 ช่อง ท่อเกสรตัวเมียจะยาว 2.5 มม.
ผล มีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเบี้ยว และกว้าง 1.0 – 1.5 ซม. ยาวประมาณ 1.5 – 2.5 ซม. มีปีก 3 ปีก เกลี้ยง เปลือก จะมีรสฝาด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ จะมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว และเรียงสลับกัน หรือตรงกันข้ามกัน จะเป็นรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 3 – 6 ซม. ยาวประมาณ 6 – 10 ซม. ขนเกลี้ยง เนื้อใบบางคล้ายกระดาษและปลายใบของมันจะแหลม โคนใบจะสอบและแคบ หรือกลม จะมีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่ขอบใบใกล้ ๆ โคนใบ ก้านจะเล็กเรียวและยาวประมาณ 0.5 – 1.2 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก จะออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกนั้นจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน ด้านล่างจะเป็นท่อยาวประมาณ 0.8 มม. ด้านบนจะแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ตรงปลายจะแยกเป็นกลีบรูปไข่มี 4 – 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก
เกสร : เกสรตัวผู้นั้นจะมีอยู่ 10 อัน และจะมีก้านเกสรตัวผู้ยาวราว ๆ 3 มม. ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 1 ช่อง ท่อเกสรตัวเมียจะยาว 2.5 มม.
|
|
|
ผล |
ผล มีลักษณะเป็นรูปขอบขนานหรือเบี้ยว และกว้าง 1.0 – 1.5 ซม. ยาวประมาณ 1.5 – 2.5 ซม. มีปีก 3 ปีก เกลี้ยง เปลือก จะมีรสฝาด[1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้า ให้สีเหลือง(คนเมือง)
- น้ำยาง ใช้หยอดประทานด้ามมีดแทนครั่ง(คนเมือง)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และบำรุงหัวใจ รักษาโรคบิด ท้องร่วง ใช้รักษาภายนอก โดยการนำมาชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และห้ามโลหิต[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|