|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
รางจืด
|
รางจืด
Thunbergia laurifolia Lindl. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Acanthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Thunbergia laurifolia Lindl. |
|
|
ชื่อไทย |
รางจืด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แย่ถามไห่(เมี่ยน), น้ำแน่,หนามแหน่(คนเมือง), ไทเผะโพเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), จอลอดิ๊กเดอพอกวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), รางจืด(คนเมือง), จอละดิ๊กเดอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่อกะฝ้าญะ(ปะหล่อง), เครือหนำแน่(ไทลื้อ), หางฉาง(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ที่มักพบอยู่ตามชายป่าดิบ ชอบอาศัยพันเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ มีเถาแข็งแรงมาก ลักษณะของเถานั้นจะกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียว
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กคือ ปลายก้าน ใบเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีครามดอกที่ยังอ่อน หรือยังไม่บานอยู่นั้น จะมีกาบห่อหุ้มอยู่ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาวมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ผล พอดอกนั้นร่วงโรยไป ก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นผักตรงปลายฝักแหลม คล้ายกับปากนก ส่วนโคนนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก [1] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านไปหาขนาดเล็กคือ ปลายก้าน ใบเป็นสีเขียวผิวเกลี้ยง ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเว้า ปลายใบจะเป็นติ่งแหลม ใบจะมีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และยาวประมาณ 4-5 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆ หนึ่งจะมีดอกอยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ตรงปลายดอกก็จะแยกเป็นแฉกอยู่ 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกจะเป็นสีม่วงอ่อนๆ หรือสีครามดอกที่ยังอ่อน หรือยังไม่บานอยู่นั้น จะมีกาบห่อหุ้มอยู่ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกนั้นเป็นสีขาวมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4 อัน จะผลิดอกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
|
|
|
ผล |
ผล พอดอกนั้นร่วงโรยไป ก็จะติดเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นผักตรงปลายฝักแหลม คล้ายกับปากนก ส่วนโคนนั้นกลมยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อผลแก่ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก [1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
"- ดอกที่เอาเกสรออกแล้ว รับประทานได้โดยนำไปทอดหรือ ผัดน้ำมัน(เมี่ยน)
ดอก ประกอบอาหารโดยการแกง(คนเมือง)
ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ปะหล่อง)
ดอก ลวกหรือรับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง,ปะหล่อง)
- เครือสด มีความเหนียวใช้มัดสิ่งของแทนเชือก หรือใช้รัด เหนือแผลงูกัดป้องกันพิษงูแพร่กระจาย(คนเมือง)
- เครือ ใช้รัดแผลงูกัด ช่วยทำให้แผลไม่บวม(เมี่ยน)
เครือ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน หรือใช้แก้พิษ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง หรือสารเคมี(คนเมือง)
เครือ ใช้เคี้ยวกิน แก้อาการเมาค้าง(ขมุ)
เครือ ตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณเครือ ลนไฟแล้วนำมาเป่าลมใส่หูรักษาอาการหูอื้อหรือใช้รัดเหนือบาดแผลงูกัดป้องกันพิษแพร่กระจาย(ไทลื้อ)
เครือ ต้มอาบสำหรับเด็กที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ไม่สบาย(ปะหล่อง)
ใบ นำมาทุบแล้วแช่น้ำ ให้เด็กอ่อนอาบแก้ไข้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบและลำต้น ขยี้ใส่แผลแก้อาการแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งต้มอาบ แก้อาการตัวบวม(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ ใช้ต้มกับใบเตยแล้วเอาน้ำดื่มรักษาอาการที่เกิดอาหาร เป็นพิษ เถา ตากแห้งแล้วใช้ฝนใส่บาดแผลร่วมกับพญายอ ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
ใบ นำมาตากแห้ง ใช้ชงดื่มแทนชา, เครือ ตำแล้วคั้นเอาน้ำ หรือนำไปตากแห้งแล้วนำมาต้ม ดื่มเป็นยาถอนพิษ และรักษาโรคกระเพาะ(คนเมือง)
- เครือ นำไปห้อยคอสุนัขที่ถูกงูกัด เชื่อว่าจะช่วยแก้พิษงู(กะเหรี่ยงแดง)
- ราก แก้อักเสบ แก้ปวดบวม ราก เถา และใบ ถอนพิษเบื่อเมา แก้เมาค้าง แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ปวดหู แก้ปวดบวม แก้ไข้ ใบ ถอนพิษทั้งปวง [5]
ทั้งต้นจะมีรสเย็นใช้ถอนพิษยาเบื่อเมา หรือใช้ปรุงเป็นยาเขียว ถอนพิษไข้ และพิษทั้งปวง รากและเถา ใช้กินเป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำรักษาพิษร้อนทั้งปวง [1]
- ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงใช้ใบกินสด ตำพอก ต้มน้ำราดแผลที่ถูกสัตว์มีพิษ เช่น งู ผึ้ง ต่อ แตน มด ตะขาบ กัดต่อย [11]"
|
|
|
อ้างอิง |
"เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า."
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|