|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
-
|
-
Toddalia asiatica (L.) Lam. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Rutaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Toddalia asiatica (L.) Lam. |
|
|
ชื่อไทย |
เครืองูเห่า, ผักแปมป่า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ผักแปมป่า,ผักขมแคม(ไทใหญ่), ตะซ่วยคะซะ,ตะโซ่ยอีคะซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ตาสว่อเอสุยเด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), บานด๊อก,ผักหย่องแหย่ง,บ่ะด๊อก(ลั้วะ), หนามเล็บแมว |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หนามเล็บแมวเป็นไม้เถาเลื้อย ตามกิ่งก้านมีหนามโค้งงอปกคลุม เปลือกเถาสีน้ำตาล เนื้อไม้สีเหลือง |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 3 ใบย่อย รูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักเล็กน้อย ผิวใบมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง สีเหลืองแกมเขียว |
|
|
ผล |
ผลกลมสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ยอดอ่อนหรือใบอ่อน รับประทานสดกับลาบ(ลั้วะ)
ใบ กินสดกับลาบ(ไทใหญ่)
ยอดอ่อนและช่อดอกตูม รับประทานสดกับน้ำพริก มีรสขม เล็กน้อย(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ เคี้ยวกิน ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานหรือออกกำลังกาย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ราก ต้มน้ำให้หญิงมีครรภ์ดื่มเพื่อให้มีสุขภาพดี, เครือ ดองเหล้าบำรุงกำลัง (ผสมกับเครืองูเห่าดำ)(ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดปานกลางถึงมาก |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|