|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ต้างหลวง
|
ต้างหลวง
Trevesia palmata (Roxb ex Lindl.) Vis. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Araliaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Trevesia palmata (Roxb ex Lindl.) Vis. |
|
|
ชื่อไทย |
ต้างหลวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ต้างหลวง(คนเมือง), ต้าง(คนเมือง,ลั้วะ,ไทลื้อ), กิลอส่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หมอกต้าง(ไทใหญ่), โช่วฟิม(เมี่ยน), ลำต้าง,แผละเคาะ(ลั้วะ) มะกะเวี้ย(ปะหล่อง), เป่าจ๊าง(ม้ง), เกะลอซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), จิ๊อูเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ตั้งเป๊อะ(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้างหลวงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แต่อาจสูงได้ถึง 20 เมตร ลำต้น กิ่งก้าน และเส้นใบมีหนามแหลมปกคลุม ใบเดี่ยวออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายยอด รูปโล่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ปลายยอด รูปร่างกลมรี ติดกันเป็นกระจุกกลม กระจุกละ 30-50 ดอก ช่อหนึ่งมีหลายกระจุก สีเหลืองอมเขียว ผลมีเนื้อ รูปกรวยคว่ำ มีสามพู เมล็ดแบน |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ช่อดอกตูม ยอดอ่อน และผล ลวกกินกับน้ำพริกหรือแกง ใส่ขนุน ถั่วแปบ หรือใส่แกงแค(คนเมือง,ลั้วะ)
ช่อดอกอ่อน นำไปแกง(คนเมือง,ลั้วะ)
ช่อดอกและยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ขมุ,ม้ง)
ดอกและยอด แกงใส่ข้าวคั่ว(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน ลวกกินจิ้มน้ำพริก(ไทลื้อ)
ดอกอ่อนหรือผลอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก(เมี่ยน)
ดอกและยอดอ่อน มักใช้เป็นส่วนประกอบในแกง เช่น แกงแกนในของลำต้นเต่าร้าง (ปะหล่อง)
ช่อดอก ใบอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงใส่ข้าวคั่ว(กะเหรี่ยงแดง)
- ยอดอ่อน ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มแก้ ไอ (ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในป่าดิบที่ปลอดจากไฟป่า หรือตามหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|